บอร์ด ความรัก,ว่าด้วยกรรมหลวงปู่พุทธะอิสระ ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัสว่าด้วยกรรม 12 / หลวงปู่พุทธะอิสระ//////พึงเข้าใจเถิดว่า มนุษย์และสัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรมแต่จะเป็นไปตามกรรมแบบไหนเล่าที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "กัมมุนา วัตตติ โลโก ... สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม".....เชื่อกรรมตามวิถีพุทธเป็นไปตามกรรมอย่างไรจึงจะถือว่า เราเชื่อกรรมตามวิถีแห่งพุทธไม่ใช่เชื่อกรรมตามลัทธินอกพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อกรรมแบบชนิดปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมคือไม่ขวนขวาย เพราะไหนๆ กูมีกรรมแล้วนี่ ชีวิตเราเป็นไปตามกรรม ก็ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม ไม่ต้องอะไรเยอะ ไม่ต้องไปขวนขวาย เดือดร้อน ทุรนทุราย เพราะยังไงๆ ก็หนีกรรมไม่พ้นถ้าเชื่อแบบนี้ เขาเรียกว่า เชื่อตามลัทธินอกศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญแต่ถ้าเชื่อกรรมโดยการเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจว่า ... สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม และกรรมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบถ้าเชื่อกรรมแบบนี้แล้วจะทำให้ชีวิตของมนุษย์ผู้ที่เชื่อในกฎของกรรมดีขึ้นได้อย่างไรกรรม คือ อะไร? กรรมคือการกระทําแล้วใครเป็นผู้กระทำ? คือ ตัวเราซึ่งก็สอดคล้องกับคำสอน "อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน"แล้วเชื่อสิ่งที่ตนกระทำทำอย่างไรต้องรับผลอย่างนั้นทำดีรับผลดี ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วเท่ากับว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อตัวเองอย่างชาญฉลาด มีสติปัญญา นั่นเอง.....บทสรุปของการเชื่อกรรม และอัตตาหิ อัตโนนาโถเมื่อเอา 2 อย่างมาผนวกกัน จะทำให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน แต่ทรงสอนให้เชื่อตัวเองที่เต็มพร้อม เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพของความมีสติปัญญา.....วิถีแห่งพละ 4ถ้าเชื่อในมนุษย์ว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคงได้ ก็จงเชื่อตนเองในวิถีแห่งพละ ๔ที่มีปัญญา วิริยะ ซื่อตรง มีจาคะอยู่ร่วมกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัยแบ่งปัน เกื้อกูลกัน มีน้ำใจ ให้อภัย ไม่เห็นแก่ตัว และมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้างแล้วชีวิตจะเป็นสุข ปลอดภัย ผ่อนคลายโปร่ง เบา สบาย และเจริญได้เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้อย่างไม่ทุกข์มากไป ไม่ทรมานเยอะไป และมีพัฒนาการอันดีงาม คือ มีปัญญาเป็นตัวหลัก......พละ 5ถ้าเชื่อในพละ 5 คือ เชื่อว่ามนุษย์ผู้นั้นจะสามารถหลุดพ้นจากการครอบงำของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และรัก โลภ โกรธ หลงได้นั่นคือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คือ เชื่อในวิถีแห่งการพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นจากอัตภาพแห่งความเป็นมนุษย์และโลกนี้ไปได้นี่คือ การเชื่อกรรมแบบมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลเชื่อแบบนี้แหละ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่ากัมมุนา วัตตติโลโก สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เชื่ออย่างมีหลักการ มีเหตุมีผล.....กรรมที่พระพุทธศาสนาสอนนั้นไม่ใช่สอนให้คนเชื่อ แล้วปล่อยชีวิตเป็นไปตามกรรม โดยไม่ขวนขวาย ไม่มุ่งมั่นพัฒนา เฉกเช่น ผู้ที่ยอมรับชะตากรรม โดยไม่คิดจะทำอะไรในพระพุทธศาสนาสอนให้ศึกษากรรมโดยแบ่งกรรมและการให้ผลของกรรมไว้ 12 ลักษณะ คือ(1) ชนกกรรมกรรมที่นำมาให้เกิดหรือกรรมที่ตกแต่งให้เกิด หาได้เกิดในชาติภพอย่างเดียวไม่ แม้ก่อกำเนิดให้เกิดกรรมทางกาย วาจา และใจ ทั้งในทางดีและชั่วได้ด้วยกระบวนการทำงานแห่งกรรมจึงไม่ได้มีเฉพาะแค่ภพใดภพหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง แต่มีแม้กระทั่งที่มีอยู่ในขณะหนึ่งๆ เช่น วันนี้เราต้องการจะปฏิบัติธรรม เรามีจิตศรัทธาประกอบด้วยความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา คือ ทุกอย่างมาจากเหตุปัจจัยพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า"เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา คือ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ"ไม่ใช่อยู่ดีๆจะมาปฏิบัติธรรม โดยไม่คิด ไม่วิเคราะห์ ไม่คำนวณ ไม่วางแผน ไม่มีอารมณ์ศรัทธาอยู่ก่อน ... มันเป็นไปไม่ได้ชนกกรรม จึงหมายถึง กระบวนการที่ทำให้เราได้ทำกระบวนการนั้นๆสำเร็จประโยชน์ต้องมีศรัทธา มีความเพียร มีขันติ มีความอดทน มีปัญญา มีสติ จึงจะถึงคำว่า มีการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมได้จึงสรุปได้ว่า การทำงานของชนกกรรมนั้นให้ผลแม้ขณะหนึ่งๆ ขณะจิตหนึ่งๆ ขณะอารมณ์หนึ่งๆ ... นี่ก็เป็นกระบวนการแห่งชนกกรรม(2) อุปัตถัมภกกรรมกรรมที่คอยสนับสนุน เลี้ยงดู รวมทั้งให้การอุปถัมภ์ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ให้ส่งผลอย่างสม่ำเสมออุปัตถัมภกกรรม เหมือนกับพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูก เราจะปฏิบัติธรรมโดยมีศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีกระบวนการมาอุปถัมภ์ด้วยคือต้องมี 'ความเพียร' เอาความเพียรเข้ามาอุปถัมภ์ความศรัทธาที่ตั้งมั่น/ตั้งใจไว้ให้มันสำเร็จประโยชน์ต้องมีขันติในการปฏิบัติธรรม มีความอดทนกระบวนการเหล่านั้นเรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม ทำให้กิจกรรมที่เราตั้งความหวังว่าจะทำสำเร็จประโยชน์ชนกกรรมก็ดี อุปัตถัมภกกรรมก็ดี มีแต่ฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศลคนคิดจะไปปล้นเขา อยู่ดีๆ จะหยิบมีด หยิบปืนไปมั้ย? ต้องโลภก่อน ต้องโง่ก่อนด้วยนะเพราะ "โง่" เป็นปัจจัยหลักของคนทำกรรมชั่ว ส่วนปัจจัยหลักของคนทำความดี คือปัญญา หรือความฉลาดคนทำความดีต้องมีปัญญา นั่นคือ ปัจจัยหลักในการทำความดี เพราะเห็นคุณ เห็นประโยชน์ในการกระทำความดีว่า ทำแล้วไม่มีโทษ ไม่มีผลส่งให้เกิดความทุกข์ทรมานเหล่านี้แหละ เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรมฉะนั้น อุปัตถัมภกกรรมของกุศลกรรม คือ ความฉลาด ความเพียร มีศรัทธา ความเชื่อในสิ่งที่ทำ เหล่านี้คือ องค์ประกอบถ้าเข้าใจพุทธธรรมก็จะเข้าใจว่า เอา "เหตุ" เป็นตัวตั้ง ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ทุกอย่างเป็นกระบวนการของเหตุทั้งหมด แล้วค่อยมาสรุปผลตรงที่ "ผล" ออกมาอย่างไรดังนั้น อุปัตถัมภกกรรม ไม่ใช่อุปถัมภ์กรรมดีอย่างเดียว แม้แต่กรรมที่ตกแต่งให้เกิดแล้วทำชั่ว เรียกว่า อกุศล ก็จัดว่า เป็นอุปัตถัมภกกรรมเหมือนกัน และการอุปถัมภ์ให้กรรมนั้นสำเร็จประโยชน์ จึงจัดว่าเป็นอุปัตถัมภกกรรมทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว(3) อุปปีฬกกรรมกรรมที่บีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ทำหน้าที่บีบคั้นจากชั่วให้เป็นดี และบีบคั้นจากดีกลายเป็นชั่ว รวมทั้งบีบคั้นให้ไม่ได้ ไม่ชั่ว เป็นกลางๆ ได้ด้วยอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอุปสรรคขวางหนาม หรือที่ทำให้เราไม่ได้ดั่งหวัง เขาก็เรียกว่า อุปปีฬกกรรม ... กรรมที่บีบคั้นให้เปลี่ยนแปลงผลที่จะเกิดจากจุดมุ่งหมายที่กระทำจะเป็นอุปปีฬกกรรมได้ ต้องเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง จึงจะเรียกว่า อุปปีฬกกรรม(4) อุปฆาตกกรรมกรรมที่ทำหน้าที่กัดกร่อน ตัดรอนในทุกกรรม ไม่ว่าจะดีหรือเลว โดยไม่มีกาลเวลา แม้ที่สุดกำลังจะดี ก็ทำให้ตายได้ด้วยส่วนใหญ่ อุปฆาตกรรม เป็นกรรมหนัก มาเร็ว และแรง ทำให้ขาดสูญ หวังผลไม่ได้อีกต่อไป เขาจะใช้คำว่า อุปฆาตกรรม.. ทำให้เสื่อมและหลุดพ้น เช่น อยู่ดีๆ หลุดพ้นจากอำนาจที่เราดำรงอยู่ อย่างนี้มีอุปฆาตกรรม.. เป็นรัฐมนตรีอยู่ดีๆ แว็บเดียวไปติดคุกแล้ว.. เป็นพระอยู่ดีๆ แว็บเดียวไปติดคุกแล้ว อย่างนี้เรียกว่า อุปฆาตกรรม คือเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปทันที.. จากมีชีวิตที่สดสวย เหมือนบ้านเพิ่งปลูกใหม่ อยู่ดีๆ ไฟไหม้อุปปีฬกกรรม เหมือนกับไฟช็อตในบ้านหลังใหม่ มองเห็นควันไฟ เราไปดับได้ทัน นี่เรียก อุปปีฬกกรรม ทำให้เสื่อม ตัดรอน ไม่ให้เจริญแต่อุปฆาตกรรม ทำให้ฉิบหายวายป่วง ทำให้บรรลัย หาย ขาดสูญไปเลยตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ไม่มีใครจะดลบันดาลให้เกิดจำไว้นะในกรรม 4 หมวดนี้ ไม่มีใครเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิด นอกจากตัวเราเองฉะนั้น เมื่อตัวเราเองเป็นผู้ทำให้เกิดกรรมทั้ง 4 แล้ว ใครเป็นผู้รับกรรม?ตัวเราเป็นผู้รับกรรม แล้วกรรมทั้ง 4 มีหน้าที่ที่จะส่งผลให้ผู้กระทำกรรมทั้ง 4 นั้น ไม่ใช่คนอื่นดลบันดาลให้ส่งผลกรรมทั้ง 4 จึงจัดเป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ ไม่มีใครมาดลบันดาล บังคับ ขู่เข็ญ ขอร้อง อ้อนวอน หรือทำให้ส่งผลตัวเราเองนั่นแหละ ถ้าทำมาก ทำเร็ว ทำบ่อย ทำถี่ ก็จะส่งผลเร็ว ส่งผลมาก ส่งผลถี่ถ้าทำช้า ทำไม่บ่อย นานๆทำที แม้กรรมทั้ง 4 มีหน้าที่ต้องให้ผลก็ให้ผลตามกระบวนการกระทำ คือ ให้ผลช้า นานๆ ให้ที ไม่ได้ให้ผลถี่ในกรรมทั้ง 4 ถ้าเราเลือกที่จะทำเฉพาะกรรมฝ่ายกุศล เรียกว่า ฉลาดแล้วทำกรรม แล้วทำบ่อยๆ ทำเรื่อยๆ ทำถี่ๆ ไม่ใช่นานๆ ทำที มันก็ให้ผลตามหน้าที่ของมันคือ จะให้ผลดี ให้คุณประโยชน์ ให้ผลเป็นสุข เป็นความสำเร็จ รุ่งเรือง เจริญ บ่อยๆ ถี่ๆเพราะฉะนั้น กรรมทั้ง 4 จึงจัดว่าเป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ถ้าอยากจะได้ "ผล" แห่งกรรมดีอันเป็นกุศลบ่อยๆ ส่งผลให้เกิดความรุ่งเรือง เจริญ มั่งคั่ง มั่นคง สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว วาสนาดี บารมีมากมายก็ต้องทำกรรมทั้ง 4 ถี่ๆ บ่อยๆ เร็วๆ ไม่ใช่นานๆ ทำที และต้องเป็นกรรมทั้ง 4 ที่อยู่ในกุศลกรรมเท่านั้น......หลักของกุศลกรรมต้นเหตุแห่งการทำกุศลกรรม คืออะไร? รากฐานเลย คือความฉลาดคนฉลาด ทำกุศลคนโง่ ทำอกุศลกรรม 12 จึงต้องเรียนรู้ ศึกษาให้แจ่มชัด ไม่ใช่เชื่อกรรมแบบไม่มีคำอธิบาย แล้วปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม อันนั้นเรียกว่า เชื่อตามลัทธินอกศาสนา