บอร์ด ความรัก,น้ำใจของคน ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย กำปวงปั๊วะทมนี่คือคดีประวัติศาสตร์ที่เป็นการตั้งคำถามถึง “น้ำใจของคน” คุณเคยสังเกตว่าไหมว่า มีหลายครั้งที่เกิดสถานการณ์ที่ฉุกเฉินหรือมีอุบัติเหตุจนมีผู้เดือดร้อน คนที่เห็นเหตุการณ์กลับไม่ใส่ใจให้ความช่วยเหลือคนอื่นเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่ผู้ประสบอุบัติเหตุกำลังเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น หากใครสักคนปั่นจักรยานล้มลงในตลาด ทุกคนที่อยู่บริเวณรอบๆ ทำได้มองเท่านั้น ไม่มีใครช่วยเหลือสักคน เหตุการณ์ที่ยกตัวอย่าง สามารถอธิบายในเรื่องจิตวิทยาพฤติกรรมของสังคมที่เรียกว่า เรียกว่า “การกระจายความรับผิดชอบ (diffusion of responsibility) ”  หรือ “ปรากฏการณ์คนมุงผู้ เพิกเฉย (the bystander effect)” (หรือ เจนโนวีส  ซินโดรม“Genovese syndrome”) โดยคิดว่าแม้ตนไม่ช่วยก็จะมีคนอื่นไม่ช่วยเอง ไม่ใช่เรื่องของเราจึงทำให้ความรู้สึกอยากชวยน้อยลงไปด้วย บางคนคิดว่าการช่วยเหลือเป็นความรับผิดชอบของตำรวจ หมอ พยาบาล หรืออาสาสมัครมูลนิธิต่างๆทั้ง 3 คำศัพท์นี้มีที่มาจากคดีหนึ่งที่น่าอับอายที่สุดที่มีการตั้งคำถามน้ำใจของคน เป็นคดีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ 13 มีนาคม 1964 ได้เกิดคดีฆาตกรรมเขย่าขวัญ คดีหนึ่งของโลกและการตั้งคำถามเกี่ยวกับน้ำใจของคนต่อการช่วยเหลือคนอื่นเวลามีเรื่องเดือดร้อน โดยเรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อคิตตี เจนโนวีส หญิงสาวอายุ 29 ปี ที่กำลังกลับบ้านเธอในเมืองควีนส์ นิวยอร์ก ได้ถูกคนร้ายแทงสามครั้ง พร้อมเสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลือ “พระเจ้า เขาจะแทงฉัน” ผ่านสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมาในนิว การ์เด้น ซึ่งมีผู้พบเห็นเหตุการณ์หลายคน แต่ที่น่าตกตะลึงก็คือไม่มีใครเลยที่จะโทรแจ้งตำรวจในขณะที่เห็นเหตุการณ์ แท้กระทั้งคนเข้าไปช่วยยังไม่มี จนกระทั้งมีพลเมืองดีคนเดียวเท่านั้นที่โทรศัพท์แจ้งตำรวจ แต่ก็เป็นหลังจากที่เกิดคดีนานถึงครึ่งชั่วโมง โดยเธอเสียชีวิตในขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลเหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกบรรยายในหนังสือพิมพ์ในสองสัปดาห์ต่อมา ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และต่อมาศัพท์ทั้ง 3 คำจึงเกิดขึ้นเพื่ออธิบายเรื่องราวดังกล่าว   คิตตี เจนโนวีสแคทเธอรีนซูซาน “คิตตี” เจนโนวีส (วันที่ 7 กรกฎาคม 1935 – 13 มีนาคม 1964) เป็นหญิงสาวชาวอเมริกันที่ถูกแทงตายใกล้บ้านของเธอในนิว การ์เด้น พื้นที่ใกล้เคียงของเมืองควีนส์ ในนิวยอร์ก เมื่อ 13 มีนาคม 1964เจนโนวีสเป็นลูกคนโตในจำนวนเด็กห้าคนในครอบครัวอิตาเลียนชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในบรุกลีน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากที่แม่ของเธอได้เห็นการฆาตกรรมในเมือง เธอก็รู้สึกกลัว เลยย้ายครอบครัวไปคอนเน็ก เพราะเชื่อว่าที่นั้นปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ตามในปี ในปี 1954 เธอได้ย้ายมาอยู่บ้านเกิดขึ้นอีกครั้ง และได้พบแมรี่ แอน ซีลอนคา และมีความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยน ทั้งคู่อาศัยอยู่อพาร์ตเมนต์ในนิว การ์เด้น ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่เธอถูกฆาตกรรมมากนัก ในวันที่เจนโนวีสเสียชีวิตนั้น เธออายุ 29 ปี เป็นผู้หญิงผมดำและมีดวงตาสีเขียวมรกตทำให้เป็นสเน่ห์ดึงดูดแก่คนรอบข้างเธอทำงานเป็นผู้จัดการบาร์ Ev's Eleventh Hour Club  ในถนนจาเมกา อเวนิว ซึ่งเธอทำงานที่นั้นจนกระทั้งเกิดคดีขึ้น  เรื่องราวแห่งความแล้งน้ำใจของคน เริ่มต้นขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 มีราคม 1964 เจนโนวีสได้ออกที่ทำงานของเธอ เพื่อเดินทางกลับบ้าน เวลานั้นเป็นเวลาประมาณตี 3 ในตอนเช้าวันใหม่ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวยังมีรถผ่านไปผ่านมาบนถนน  เส้นทางการกลับบ้านของเธอเหมือนเช่นปกติเช่นทุกวัน เธอหลังจากที่เธอจอดรถในพื้นที่จอดรถที่อยู่ติดกับอพาร์ทเม้นที่เธออาศัยอยู่ และในขณะเจนโนวีสกำลังมุ่งหน้าไปยังอาคาร เธอก็เริ่มสังเกตว่ามีใครบางคนกำลังแอบตามเธอในมุมมืด เงามืดดังกล่าวเป็นของชายผิวดำที่ดูเหมือนจะพร้อมที่จะจู่โจมเธอทุกเมื่อ เวลานั้นเธอเริ่มใจเสียและไม่มีเวลาแม้จะไปที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะเพื่อขอความช่วยเหลือกับตำรวจเจนโนวิสพยายามหนีสละพ้นชายดังกล่าว ซึ่งภายหลังถูกระบุชื่อวินสตัน มอสลีย์  เธอพยายามวิ่งหนีชายดังกล่าวจนถึงทางสัญจรหลัก หากแต่ชายผิวดำยังตามทันอย่างรวดเร็วพร้อมโจมตีเธอด้วยการแทงสองครั้งที่กระเพาะอาหาร จนเลือดไหลออก และเวลานั้นเองเธอก็เริ่มตะโกน“โอ้ พระเจ้า!! เขาแทงฉัน ช่วยฉันด้วย!!”เสียงของเธอนั้นทำให้อาคารรอบๆ เปิดไฟ หากแต่เวลานั้นพอดีเป็นคืนที่อากาศหนาวทำให้กว่าที่มีคนมาเปิดหน้าต่างมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น เจนโนวิสก็ถูกทำร้ายจนสาหัสเรียบร้อยแล้ว และมีใครบางคนเห็น พวกเขาก็ไม่คิดที่ลงไปถนนเพื่อไปช่วยเหลือเธอแม้แต่น้อย เวลานั้นเองนายโรเบิร์ต โมเซอร์หนึ่งในเพื่อนบ้านได้ตะโกนไปที่คนร้ายว่า "อย่าไปยุ่งกับเธอ!!” มอสลีย์ตกใจกับเสียงตะโกนดังกล่าว ทำให้เจนโนวิสมีโอกาสวิ่งหนี หากแต่เธอได้รับบาดเจ็บสาหัสหลายแผล ทำให้วิ่งไม่ได้รวดเร็วนัก แต่เธอพยายามกัดฟันรวบรวมพละกำลังเพื่อไปด้านหลังอาคารอพาร์มเม้นของเธอหวังจะมีใครมาช่วยเหลือ ซึ่งมาถึงตอนนี้ก็มีพยานหลายคนเห็นฉากดังกล่าวมากมายหลายราย หากแต่คนเหล่านั้นก็ไม่เข้าไปช่วยหรือโทรเรียกตำรวจแม้แต่น้อยแต่เรื่องราวความแล้งน้ำใจคนยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น โดยพยานได้ให้การในภายหลังว่าเห็นมอสสลีย์ไปที่รถของเขาและพยายามที่จะออกจากที่เกิดเหตุ หากแต่ไม่นานเขาก็กลับมาอีกในอีกสิบนาทีต่อมา สันนิษฐานว่าตอนแรกมอลสลีย์คิดจะมีคนมาขัดขวางเขา หากแต่เมื่อผ่านไปหลายนาทีก็ไม่เกิดอะไรเกิดขึ้น เขาเลยตามหาเจนโนวิสเพื่อจัดการเธอให้เสร็จเรียบร้อย โดยพื้นที่ล็อบบี้ด้านหลังของอาคาร เขาก็พบกับเธอในสภาพแทบไม่มีสติ หลังจากนั้นก็ไม่มีใครทราบว่าเกิดขึ้นอะไรกับเธอแล้ว หากแต่สภาพที่พบเธอก็พบว่าเธอถูกแทงหลายแผล แผลใบไม้ในมือของเธอเป็นตัวบ่บอกชัดเจนว่าเธอพยายามป้องกันตนเองจากมีด และขณะที่เธอนอนหมดสติเขาก็ข่มขืนเธอ และขโมยเงินไปเพียง 49 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันสิ้นสุดการโจมตีและความไร้น้ำใจของคนครึ่งชั่วโมง (3.15-3.50 น. )ไม่กี่นาทีหลังการโจมตีครั้งสุดท้ายพยานคนหนึ่งก็ได้แจ้งตำรวจ เมื่อตำรวจมาถึงเจนโนวีสก็ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล แต่สุดท้ายเธอก็เสียชีวิตระหว่างทางไปโรงพยาบาล จากการสอบสวนในภายหลังตำรวจได้เปิดเผยว่ามีพยานประมาณหนึ่งโหล (จำนวนไม่แน่นอน บางแหล่งบอกว่ามีประมาณ 38 คน) ที่เป็นบุคคลใกล้เคียงที่ได้ยินเสียงและเห็นการโจมตีดังกล่าว แต่หลายคนไม่สนใจที่เกิดขึ้น ในขณะที่พยานบางคนคิดว่าเป็นการทะเลาะกันระหว่างเธอกับลูกค้าขี้เมา หรือเพื่อนของเธอมากกว่าจะเป็นการฆ่ากัน    วินสตัน มอสลีย์เมื่อตำรวจมาถึงพบว่ามอลสลีย์ยังคงมีลมหายใจมีชีวิตอยู่ หากแต่เธอก็สิ้นใจในโรงพยาบาลในระหว่างส่งตัวเธอไปโรงพยาบาลมอสลีย์ถูกจับกุมในเวลาต่อมา จากการตรวจสอบประวัติพบว่า เขาเป็นเพียงแอฟริกัน-อเมริกันที่ทำธุรกิจเล็กๆ และยังเป็นโจรลักเล็กขโมย (เกิด 2 มีนาคม 1935)  จากการสอบสวน เขาก็จนมุมด้วยหลักฐานกายภาพที่พบในเกิดเหตุ และเมื่อเขาถามแรงจูงใจว่าทำไมถึงก่อเหตุสะเทือนขวัญถึงเพียงนี้ เขาแค่ตอบว่า “ผมแค่อยากฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งเท่านั้นเอง” เขากล่าว “เธอฆ่าง่ายและไม่ต่อสู้ตอบโต้ด้วย” พูดง่ายๆ เขาแค่มีความรู้สึกอยากฆ่าคน ขอให้เป็นใครก็ได้ที่เป็นผู้หญิง มอสลีย์ได้เล่าอีกว่าเขาตื่นนอนตอนตี 2 ออกจากเตียงที่ภรรยาของเขากำลังหลับอยู่ ก่อนที่จะออกจากบ้าน ขับรถไปตามหาเหยื่อ จนกระทั้งมาพบเจนโนวิสและเขาก็ตามเธอไปที่ลานจอดรถ และเมื่อสบโอกาสก็จัดการกับเธอเหมือนกับที่พยานอ้างเห็นเหตุการณ์ข้างต้นมอสลีย์ถูกตัดสินคดีฆาตกรรมเจนโนวิส เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 1964 เขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิต เมื่อสิ้นเสียงประกาศโดยคณะลูกจุน ทั้งห้อง (ศาล) ทุกคนต่างระเบิดเสียงปรบมิดังลั่น ในขณะที่บางคนพูดไชโย จนผู้พิพากษาบอกให้ทุกคนอยู่ในอาการสงบก่อนที่เขาจะพูดกล่าวเสริมว่า “ผมไม่เชื่อในโทษประหาร แต่เมื่อผมเห็นสัตว์ประหลาดตัวนี้ผมจะไม่ลังเลที่จะกดสวิทช์ (เก้าอี้ไฟฟ้า) ด้วยตนเอง”อย่างไรก็ตาม ไม่นานนักมอสลีย์ก็ได้นักโทษที่ได้รับปาฏิหาริย์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 1967 ศาลอุทธรณ์ได้พบว่าเขามีอาการทางจิตการชอบมีเพศสัมพันธ์กับศพ (necrophilia) ซึ่งศาลได้พิจารณาแล้วว่าสมควรยกเลิกโทษประหารและเปลี่ยนมาเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแทน   เจนโนวิสในการ์ตูน Watchmen ทางด้านปฏิกิริยาสาธารณะชน เมื่อหลายได้ทราบข่าวการฆาตกรรมเจนโนวิส ซึ่งเป็นตัวอย่างของความไร้น้ำใจของคน โดยเฉพาะนิวยอร์กไทมส์ได้พาดหัวข่าว ที่เผยแพร่วันที่ 27 มีนาคม สองสัปดาห์หลังจากเกิดคดีฆาตกรรม “38 พยานที่เห็นการฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาแต่ไม่ได้เรียกตำรวจ” (มีการเซ็นเซอร์ชื่อและที่อยู่พยานสามสิบแปดคนเอาไว้) พร้อมกับเนื้อหาหญิงสาวตะโกนกว่าครึ่งชั่วโมงแต่ไม่มีใครสนใจเธอเลยแม้แต่น้อย ซึ่งเนื้อหาข่าวดังกล่าวทำให้สังคมตื่นตกใจไปทั่ว หลังจากที่นิวยอร์กไทม์เผยแพร่ข่าว ก็มีหลายคนพยายามหาข้อสรุปพฤติกรรมแปลกประหลาดของพยานเหล่านั้นว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร หลายคนออกมาตำหนิว่าความเงียบ ความขี้ขลาด ความไม่แยแสของพวกเขาแสดงให้เห็นสภาพสังคมของอเมริกัน บางคนถึงขั้นให้ออกกฎหมายลงโทษคนเหล่านี้เพราะพวกเขาไม่ตระหนักถึงความรับผิดชอบของพลเมืองดีอย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาได้มองพฤติกรรมพยานของคดีนี้ว่าเกิดจาก “การกระจายความรับผิดชอบ (diffusion of responsibility) ” หรือ “ปรากฏการณ์คนมุงผู้ เพิกเฉย (the bystander effect)” (ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า เจนโนวีส  ซินโดรม“Genovese syndrome”)ความเพิกเฉยของผู้เห็นเหตุการณ์ (bystander effect) เป็นศัพท์จิตวิทยาทางสังคม ที่อ้างถึงการเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “คนมุง” ที่ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือใดๆ แก่ผู้เดือดร้อนตรงหน้า ทำได้แต่ยืนดู และที่น่าสนใจคือยิ่งมีคนอยู่รอบข้างมาก จะยิ่งไม่มีคนให้ความช่วยเหลือ เกิดจากความคิดที่ว่า คนอื่นอยู่กันตั้งเยอะ และทำไมฉันจะต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือคนที่กำลังมีปัญหาด้วยล่ะ?หรือการปัดความรับผิดชอบให้พ้นตัวเอง เพราะคิดว่าคนอื่นก็อยู่กันตั้งมากมาย ถ้าฉันไม่ไปช่วยสักคนหนึ่งก็ยังจะมีคนอื่นอยู่อีกตั้งหลายคนที่สามารถเข้าไปช่วยได้ โดยปกติแล้วคนเราจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ เวลาอยู่คนเดียวแล้วเห็นคนที่ต้องการความช่วยเหลือเราจะวิ่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือในทันที เพราะว่ามีแต่เราอยู่คนเดียวเท่านั้น แต่พอมีหลายคนเข้าการปัดความรับผิดชอบก็จะเกิดขึ้น นำมาซึ่งการแพร่กระจายความรับผิดชอบ (Diffusion of responsibility) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราก็โยนความรับผิดชอบให้คนอื่น ยิ่งจำนวนคนมากเอาใดตนเองก็ไม่รู้สึกผิดมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ไทยมุมดังกล่าวจะเกิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่ได้ เพราะมันมีองค์ประกอบอื่นๆ เขามามากมายที่ทำให้คนเราไม่ช่วยเหลือกัน เช่น อารมณ์ของบุคคล, วัฒนธรรม, ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ  ซึ่งกรณีของเจนโนวีสนั้นได้กลายเป็นตัวอย่างจิตวิทยาสังคมคลาสสิกที่อธิบายศัพท์จิตวิยาดังกล่าว