เรื่องเล่าอีกด้านของ "สูตรของเว่ยหล่าง"(2) : ความทะเยอทะยานของเสินฮุ่ย

บอร์ด ความรัก,เรื่องเล่าอีกด้านของquotสูตรของเว่ยหล่างquotความทะเยอทะยานของเสินฮุ่ย ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัสเรื่องเล่าอีกด้านของ "สูตรของเว่ยหล่าง"(2) : ความทะเยอทะยานของเสินฮุ่ย////เสินฮุ่ย (神会,684-758) เกิดในปี ค.ศ. 684เขาศึกษาคัมภีร์ของขงจื่อ และคัมภีร์เต๋าของเล่าจื่อและจวงจื่อตั้งแต่เด็ก เขาเป็นเด็กฉลาดและหัวดีคนหนึ่งในปี ค.ศ. 698 พอเสินฮุ่ยอายุ 14 ปี เขาหันมาสนใจเรื่องเซนอย่างจริงจังจนถึงขั้นออกบวชเป็นเณรทีเแรกเขาไปหาท่านเสินซิ่วผู้โด่งดังก่อนเพื่อขอเป็นศิษย์ แต่ตอนนั้นท่านเสินซิ่วชราภาพมากแล้วคือมีอายุ 90 กว่าปีแล้วเสินฮุ่ยจึงเปลี่ยนใจบ่ายหน้าลงใต้ไปขอเป็นศิษย์ของท่านฮุ่ยเหนิงที่มีศักดิ์เป็นศิษย์ผู้น้องของท่านเสินซิ่วแทนตอนเจอกันครั้งแรกในปี ค.ศ. 698 ท่านฮุ่ยเหนิงอายุ 60 ปีแล้วท่านฮุ่ยเหนิงออกบวชอย่างเป็นทางการตอนอายุ 38 ปี จึงหมายความว่าตอนที่ท่านฮุ่ยเหนิงเจอเสินฮุ่ยวัย 14 ปีครั้งแรก ท่านฮุ่ยเหนิงได้เผยแผ่หลักธรรมของเซนมานานถึง 22 ปี แล้ว และรับศิษย์ก่อนหน้าเสินฮุ่ยหลายคนแล้ว ได้แก่ท่านฝ่าไห่ ผู้จดบันทึกคำสอนของท่านฮุ่ยเหนิงจนกลายเป็น "สูตรของเว่ยหล่าง" ในเวลาต่อมาท่านฝ่าเต๋อ ... ภิกษุผู้กราบศีรษะไม่จรดพื้นท่านจื้อทง ... ผู้อ่าน'ลังกาวตารสูตร'กว่าพันจบท่านจื้อฉาง ... ผู้มีความกระหายในธรรมอย่างแรงกล้าท่านจื้อเต้า ... ผู้อ่าน 'มหาปรินิพพานสูตร' มากว่าสิบปีท่านหย่งเจีย (永嘉玄覚,665-713) ... ผู้รู้แจ้งชั่วข้ามคืน (一宿客)ท่านจื้อหวง ... ผู้รอบรู้ท่านสิงซือ (青原行思,673-741) ผู้เป็นอาจารย์ของท่านซือโถว (石頭希遷,700-790) ปรมาจารย์เซนรุ่นหลังท่านฮ่วยยั่ง (南嶽懐譲,677-744) อาจารย์ของท่านหม่าซู่ (馬祖道一,709-788) ปรมาจารย์เซนรุ่นหลัง.....เหตุการณ์ตอนพบกันครั้งแรกระหว่างสามเณรเสินฮุ่ยวัย 14 ปี กับท่านฮุ่ยเหนิงวัย 60 ปีในปี ค.ศ. 698 ก็มีบันทึกอยู่ใน "สูตรของเว่ยหล่าง" เช่นกัน ... ขอให้ตั้งใจอ่านให้ดีแล้วนึกภาพตามสามเณรเสินฮุ่ยได้เดินทางมานมัสการพระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงด้วยวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบภูมิธรรมภูมิจิตของตนอีกทั้งยังต้องการให้พระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงรับรองว่าตัวเขาเข้าถึงหรือบรนลุถึงจิตเดิมแท้เรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่ทันทีที่พบหน้ากัน ท่านฮุ่ยเหนิงอ่านวาระจิตของเณรเสินฮุ่ยออก ท่านจึงเป็นฝ่ายถามสามเณรเสินฮุ่ยก่อนว่า"สหายน้อยผู้คงแก่เรียน เธอคงลำบากมากที่เดินทางไกลเช่นนี้มาหาฉัน แต่เธอบอกฉันได้ไหมว่า อะไรเป็นหลักธรรมเบื้องต้นของเธอ ? และเธอมาพร้อมกับโฉมหน้าดั้งเดิมแห่งจิตใช่หรือไม่ ? ถ้าเธอบอกได้ก็หมายความว่าเธอเป็นผู้รู้จักเจ้าของ ที่เปรียบเสมือนเจ้านายของเธอ ... ไหนเธอลองพูดให้ฟังหน่อยซิ"สามเณรเสินฮุ่ยตอบทันทีอย่างฉาดฉานและมั่นใจว่า"ความไม่ยึดติด ต่อโฉมหน้าดั้งเดิมแห่งจิต เป็นหลักธรรมเบื้องต้นของกระผม และการรู้จักเจ้าของ คือความตระหนักชัดต่อโฉมหน้าดั้งเดิมแห่งจิต"ท่านฮุ่ยเหนิงส่ายหน้าพร้อมเอ่ยปากตำหนิสามเณรเสินฮุ่ยตรงๆว่า"สามเณรผู้นี้พูดจาเปล่าเปลือย ไม่มีคุณค่าอะไรเลย"แทนที่สามเณรเสินฮุ่ยจะโกรธหรือเกรงกลัว เขากลับย้อนถามท่านฮุ่ยเหนิงต่ออย่างท้าทายว่า"ในการทำสมาธิหรือนั่งกรรมฐาน หลวงพ่อรู้เห็นอะไรหรือไม่ จงตอบมาสั้นๆว่าเห็นหรือไม่เห็น"ท่านฮุ่ยเหนิงยกไม้ที่ถือในมือตีสามเณรเสินฮุ่ย 3 ที แล้วถามเขาว่า"ฉันตีเธอรู้สึกเจ็บหรือไม่"สามเณรเสินฮุ่ยตอบอย่างถือดีว่า"ทั้งเจ็บและไม่เจ็บ""ที่เธอถามฉันเรื่องสมาธิว่าฉันรู้เห็นอะไรหรือไม่ ฉันก็ขอตอบเธอว่า การทำสมาธิของฉัน ... ฉันรู้และไม่รู้ และฉันทั้งเห็นและไม่เห็น"ท่านฮุ่ยเหนิงบอกเป็นนัยว่า ท่านทั้งรู้และเห็นนามรูปด้วยจิตที่ไร้ความคิดปรุงแต่งเสมอ แต่ตอนนั้นสามเณรเสินฮุ่ยยังไม่เข้าใจคำตอบนี้ของท่านฮุ่ยเหนิง เขาจึงถามต่ออย่างไม่ยอมรับว่า"เป็นไปได้อย่างไร ที่ท่านรู้และไม่รู้ และท่านทั้งเห็นและไม่เห็น"ท่านฮุ่ยเหนิงตอบสามเณรเสินฮุ่ยด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มว่า"เด็กน้อย สิ่งที่ฉันรู้และรู้อยู่เสมอก็คือ ความผิดของฉันเองแต่สิ่งที่ฉันไม่รู้คือ ความดี ความชั่ว ความเป็นกุศล และความเป็นอกุศลของผู้อื่น"".... "สามเณรเสินฮุ่ยถึงกับอึ้งในคำตอบของพระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิง"นี่แหละฉันจึงรู้และไม่รู้ และทั้งเห็นและไม่เห็น เอาล่ะ ทีนี้เธอลองบอกทีซิว่า ทั้งเจ็บและไม่เจ็บนั้น เธอหมายถึงอะไร ถ้าเธอไม่เจ็บ เธอก็ไม่มีความรู้สึก ซึ่งก็เหมือนท่อนไม้หรือก้อนหิน แต่ถ้าเธอรู้สึกเจ็บและเกิดความโกรธขึ้นมา เธอก็อยู่ในฐานะปุถุชนธรรมดา""....."สามเณรเสินฮุ่ยเกิดความลังเลใจไม่สามารถตอบได้ว่าเจ็บหรือไม่เจ็บ ท่านฮุ่ยเหนิงจึงอบรมเขาต่อด้วยจิตเมตตาว่า"คำว่า รู้และไม่รู้ ที่เธอถามจึงเป็นแค่คำคู่ประเภทตรงข้าม ส่วนคำว่า เจ็บและไม่เจ็บนั้น เป็นธรรมประเภทที่เกิดขึ้นและดับไปเช่นนั้นเอง ... ไอ้หนู เธอรู้ตัวหรือเปล่าว่า เธอกล้าพูดจาด้วยโวหารที่หลอกลวง เธอกล้าพูดจาเลียนแบบผู้บรรลุธรรม ทั้งๆที่ตัวเธอยังไม่ค้นพบ และยังไม่เคยตระหนักรู้อย่างถ่องแท้ ถึงภาวะเดิมแท้แห่งจิตของเธอด้วยตัวเธอเอง"เมื่อถูกท่านฮุ่ยเหนิงจี้ใจดำขนาดนี้ สามเณรเสินฮุ่ยจึงเริ่มรู้สึกตัว เขากล่าวขอขมา และกราบขอบพระคุณพระสังฆปรินายกอย่างจริงใจท่านฮุ่ยเหนิงได้กล่าวอบรมสามเณรเสินฮุ่ยต่อว่า"ถ้าเธอยังมีความหลงผิด ไม่สามารถเห็นแจ้งต่อภาวธรรมแห่งธรรมชาติเดิมแท้ของจิตตน เธอควรขอคำแนะนำจากกัลยาณมิตรที่รู้แจ้งและมีใจอารีเป็นผู้ชี้แนะชี้ทางให้แก่เธอ เพื่อที่เธอจะได้เดินบนหนทางที่ถูกต้อง ... แต่สิ่งที่เธอทำไปเมื่อครู่ เธอกลับกล้าย้อนถามฉันว่า รู้จักภาวะที่แท้แห่งจิตหรือไม่ ทั้งๆที่ตัวเธอยังหลงผิดอยู่แท้ๆ""..... "สามเณรเสินฮุ่ยก้มหน้านิ่งด้วยความละอายใจ ท่านฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวต่อด้วยน้ำเสียงที่อ่อนลงว่า"จำไว้นะ เด็กโง่ ถ้าฉันรู้ ฉันก็ตระหนักของฉันเอง และต่อให้ฉันรู้แจ้งจริงฉันก็ไม่อาจช่วยเธอให้พ้นจากความหลงผิดได้ ... โดยทำนองเดียวกัน ถ้าเธอรู้หรือเห็นแจ้ง การเห็นแจ้งของเธอ ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ฉัน และไม่อาจทำให้ฉันรู้แจ้งได้ ดังนั้นแทนที่จะมัวแต่ถามผู้อื่น ทำไมเธอจึงไม่มุ่งมั่นหาเอาที่จิตตนเอง ให้รู้จักด้วยตนเอง รู้เองเห็นเองด้วยตนเองเล่า ... จบแค่นี้ !"พริบตานั้น สามเณรเสินฮุ่ยถึงกับปล่อยโฮออกมา และกราบเท้าพระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงครั้งแล้วครั้งเล่านับครั้งไม่ถ้วนนับจากวันนั้นเป็นต้นมา สามเณรเสินฮุ่ยกลายเป็นผู้ปรนนิบัติรับใช้พระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงอย่างใกล้ชิดและแข็งขันดุจเดียวกับพระอานนท์ ตราบจนวาระสุดท้ายของท่านฮุ่ยเหนิงในปี ค.ศ. 713 ซึ่งตอนนั้นพระเสินฮุ่ยมีอายุได้ 29 ปีพอดี.....แม้สามเณรเสินฮุ่ยจะกลายเป็นศิษย์สายตรงคนสุดท้ายของท่านฮุ่ยเหนิงแล้ว แต่นิสัยอวดดีและหลงตนเองของเสินฮุ่ยก็ยังแก้ไม่หายอยู่ดีคราวหนึ่งพระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงได้กล่าวถามปริศนาธรรมในที่ประชุมสานุศิษย์ว่า"ฉันมีของอย่างหนึ่ง ไร้หางไร้หัว ไม่มีชื่อไร้นาม ไม่มีหน้า และไม่มีหลัง มีใครรู้จักบ้างหรือไม่"สามเณรเสินฮุ่ยก้าวออกมานอกแถวที่ตนนั่งอยู่ และตอบอย่างอหังการว่า"สิ่งนั้นคือที่มาของพระพุทธะทั้งหลาย และคือที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะของเสินฮุ่ยด้วย"พระสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงอดตำหนิสามเณรเสินฮุ่ยไม่ได้ว่า"เสินฮุ่ย ฉันได้บอกเธอแล้วว่า ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา และไม่มีตัวตน แต่เธอก็ยังเรียกว่าที่มาของพระพุทธะทั้งหลาย และที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะของตัวเธอ ... เสินฮุ่ย ฉันเคยตักเตือนเธอไปแล้วไม่ใช่หรือว่า แม้เธอจะเป็นผู้ใฝ่ธรรม แต่เธอก็ยังหลุดจากความเป็นนักศึกษาประเภทจำเอาความรู้ของคนอื่นมาพูดทั้งสิ้นไม่ได้อยู่ดี ขืนเธอเป็นแบบนี้ต่อไป อนาคตเธอจะประสบความสำเร็จในระดับแค่ผู้เลียนแบบเท่านั้นเองนะ"คำเตือนของท่านฮุ่ยเหนิงครั้งนี้ ช่างแม่นยำราวกับล่วงรู้อนาคตในช่วงครึ่งหลังของชีวิตของภิกษุเสินฮุ่ยก็ไม่ปาน.....เรื่องราวของเสินฮุ่ยใน "สูตรของเว่ยหล่าง" มีเพียงเท่านี้แต่มีข้อเขียนประโยคหนึ่งต่อจากนั้นใน "สูตรของเว่ยหล่าง" ที่น่าจะแอบใส่มาอย่างแนบเนียนในภายหลังว่า ..."หลังจากสังฆปรินายกฮุ่ยเหนิงดับขันธ์ไปแล้ว ภิกษุเสินฮุ่ยผู้รู้แจ้งต่อธรรมชาติเดิมแท้ของจิตแล้ว ก็ได้เดินทางไปยังเมืองลั่วหยาง และทำการเผยแพร่คำสอนของสำนักฉับพลันแห่งเฉาซี ..."สิ่งที่ผมไม่เชื่อในข้อเขียนประโยคข้างต้น คือ ผมไม่เชื่อว่าภิกษุเสินฮุ่ยเป็นผู้รู้แจ้งต่อธรรมชาติเดิมแท้ของจิตจริง ไม่ว่าก่อนหรือหลังการดับขันธ์ของท่านฮุ่ยเหนิงก็ตามแต่สิ่งที่ผมเชื่อเกินร้อยก็คือ ภิกษุเสินฮุ่ยทั้งรักและบูชาท่านฮุ่ยเหนิงยิ่งกว่าบิดาบังเกิดเกล้า แทบไม่ต่างจากความรักความเคารพบูชาที่พระอานนท์มีต่อพระพุทธเจ้าเลย แต่ "ความรัก" ของภิกษุเสินฮุ่ยนั้นมีความมืดบอดยิ่งกว่ามากจนผมอดจินตนาการไม่ได้ถึงคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายที่ท่านฮุ่ยเหนิงเมตตาบอกภิกษุเสินฮุ่ยก่อนที่ท่านจะดับขันธ์ดังนี้"เสินฮุ่ย เธอรู้มั้ยจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในตัวเธออยู่ที่ใด ฉ้นจะบอกเธอให้เป็นครั้งสุดท้ายแล้วว่า จุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของเธอ ก็คือเธอรักเคารพฉันมากเกินไป มากเสียจนมันปิดบังความรู้แจ้งของเธอ ฉันหวังว่าเธอจะได้คิดก่อนที่เธอจะจากโลกนี้ไปนะ เสินฮุ่ย"......พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงดับขันธ์ในยามสามของวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 8 ปี ค.ศ. 713 ต่อหน้าภิกษุฝ่าไห่ที่อาวุโสสุดและภิกษุเสินฮุ่ยพระหนุ่มผู้เป็นศิษย์ก้นกุฏิของพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอนที่พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงดับขันธ์เข้านิพพานในท่านั่งสมาธิ ได้มีกลิ่นหอมประหลาดคลุ้งขจายไปทั่วห้อง แสงจันทร์นวลผุดขึ้นกลางนภาราตรี ดั่งรุ้งสีขาวที่เชื่อมฟ้ากับดิน แมกไม้ในป่าโดยรอบมองไปเห็นเป็นสีขาว นกและสัตว์จตุบาทในป่าโดยรอบส่งเสียงร้องระงมไปทั่วพื้นพิภพขณะนั้นพระเสินฮุ่ยเพิ่งมีอายุ 29 ปี บวชยังไม่ครบ 10 พรรษา เขาบอกกับตัวเองว่า"ท่านอาจารย์จากไปแล้ว จากไปตลอดกาล สิ่งที่ฉันจะตอบแทนพระคุณของพระอาจารย์ได้คือทำให้เรื่องราวและคำสอนของท่านอาจารย์เป็นตำนานอมตะชั่วนิรันดร์เท่านั้น ... นี่คือภารกิจชั่วชีวิตของฉันหลังจากนี้"ตอนนั้นพระเสินฮุ่ยยังเป็นพระป่าที่ไร้ชื่อเสียงเรียงนามและอยู่ไกลจากเมืองหลวงมาก พระศิษย์พี่คนอื่นๆในสำนักที่มีศักยภาพสูง ไม่ว่าท่านสิงซือ หรือท่านฮ่วยยั่งก็ล้วนออกไปเผยแผ่ธรรมที่บ้านเกิดของตนซึ่งไม่ใช่เมืองหลวง ส่วนท่านหย่งเจียที่มีอัจฉริยภาพที่สุดในสำนักก็ด่วนจากไปพร้อมๆกับพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงทำให้ในสำนักที่เฉาซี (曹渓) ของพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอนนี้ มีเพียงตัวเขาเท่านั้นที่สามารถแบกรับภารกิจสำคัญของสำนักได้ แต่พระเสินฮุ่ยรู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก และตัวเขาต้องเตรียมตัวเตรียมการล่วงหน้าสิบกว่าปีถึงจะทำได้ก่อนอื่น พระเสินฮุ่ยตัดสินใจกลับไปเป็น "หนอนตำรา" เหมือนสมัยเด็กอีกครั้งเขาละทิ้งการนั่งกรรมฐานที่เคยนั่งทุกวันสมัยที่พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงยังมีชีวิตอยู่ และหันมาศึกษาท่องจำคัมภีร์ศาสนาพุทธทุกนิกายในประเทศจีนสมัยนั้นอย่างเอาเป็นเอาตายจนขึ้นใจ และหัดคัดอักษร หัดเขียนบทความวิพากษ์ลัทธินิกายต่างๆจนช่ำชองเวลาผ่านไปดุจติดปีกบิน19 ปีต่อมาในปี ค.ศ. 732 ตอนนี้พระเสินฮุ่ยมีอายุ 48 ปี เขาพร้อมแล้วและมีความมั่นใจสุดๆที่จะไปประกาศศักดาของสำนัก"ฝ่ายใต้" ของพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงที่นครกลวง เพื่อช่วงชิงตำแหน่งราชครูกับสำนัก"ฝ่ายเหนือ" ของท่านเสินซิ่วที่ตัวเขาอุปโลกน์ขึ้นมาเองนี่คือกลยุทธ์ที่พระเสินฮุ่ยคิดออกมาได้ เพื่อขับเคลื่อนช่วงชิงความเป็นผู้นำทางศาสนาในเมืองหลวงแข่งกับสายของท่านเสินซิ่วที่ครองตำแหน่งราชครูอยู่ก่อนแล้วแน่นอนว่าพระเสินฮุ่ยรู้แก่ใจดีว่า ในสมัยของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ความจริงมีแค่สำนักเดียวเท่านั้นคือสำนักตงซาน (東山法門) ของพระอาจารย์หงเหยิ่นตัวท่านฮุ่ยเหนิงเองตอนมีชีวิตอยู่ก็พูดไว้ชัดเจนว่า "ความแตกต่างระหว่างนิกาย 'ฉับพลัน' กับนิกาย 'เชื่องช้า' มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ... คำว่า 'เชื่องช้า' กับ 'ฉับพลัน' เป็นเพียงภาพเลือนๆมากกว่าที่จะเป็นสัจธรรมหรือความจริงแท้"แต่ทั้งที่รู้ทั้งรู้ พระเสินฮุ่ยจำใจต้องบิดคำสอนตรงนี้ แล้วหันมาเชิดชูความต่างอย่างสุดขั้ว ราวกับเป็นความต่างสองแนวทาง ระกว่างแนวทางฉับพลันของฝ่ายใต้สายฮุ่ยเหนิง กับแนวทางเชื่องช้าของฝ่ายเหนือสายเสินซิ่วพระเสินฮุ่ยเป็นบัณฑิตปัญญาชนที่รู้ดีว่าจะสร้างความแตกต่างให้ฝ่ายตัวเองโดดเด่นขึ้นได้อย่างไรด้วยวาทศิลป์และการประดิษฐ์วาทกรรมที่ "เอาดีใส่ตัว เอาชั่วยัดเยียดใส่คนอื่น"เมื่อพร้อมแล้วพระเสินฮุ่ยจึงตัดสินใจเดินทางขึ้นเหนือในปี ค.ศ. 732 ไปประกาศศักดาที่นครลั่วหยาง เขาจงใจก่อวิวาทะกับพวกพระลูกศิษย์ของท่านเสินซิ่ว "ฝ่ายเหนือ" ในที่ประชุมใหญ่ทางศาสนาที่หนานหยางมณฑลเหอหนานจากนั้นพระเสินฮุ่ยก็เขียนบทความวิพากษ์คำสอนของท่านเสินซิ่วออกมาเป็นชุดๆอย่างต่อเนือง รวมให้ระดมคนคัดลอก "สูตรของเว่ยหล่าง" ฉบับที่ตัวเขาลงมือปรับแต่งเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนลงไป แจกจ่ายในหมู่ปัญญาชนชั้นนำในเมืองหลวงนี่คือรูปแบบกลยุทธ์การตลาดและการโฆษณาชวนเชื่อที่ได้ผลของพระเสินฮุ่ยที่ผู้คนสมัยนี้คุ้นเคยดีแต่สำหรับผู้คนสมัยนั้นเมื่อหนึ่งพันสามร้อยปีก่อน มันคืออาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการช่วงชิงความเป็นใหญ่ทางอุดมการณ์ ความคิด และความเชื่อในที่สุด ความเชื่อผ่านวาทกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างแยบยลก็กลายเป็น "ความจริง" ในที่สุด ตอนนี้ผู้คนหลงเชื่อไปแล้วว่า สำนักเชื่องช้าฝ่ายเหนือมีอยู่จริง และเป็นปฏิปักษ์กับสำนักฉับพลันฝ่ายใต้ของพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิง ซึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 โดยชอบธรรมโดยที่ตัวพระเสินฮุ่ยเองคือ "พระสังฆปรินายกองค์ที่ 7" โดยสถานะในเวลาเพียง 13 ปี จนถึงปี ค.ศ. 745 ตอนพระเสินฮุ่ยมีอายุ 61 ปี สำนักฉับพลันฝ่ายใต้ของเขาก็ได้รับชัยชนะขั้นเด็ดขาดเหนือสำนักเชื่องช้าฝ่ายเหนือในเมืองหลวงลั่วหยางแต่พระเสินฮุ่ยครองความยิ่งใหญ่ทางศาสนาในเมืองลั่วหยางได้เพียงสิบปีเท่านั้น ก็เกิดกบฏอันลู่ซาน (ค.ศ. 755-763) ที่เป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังให้พลิกจากถังรุ่งเรืองไปสู่ถังตกต่ำตัวพระเสินฮุ่ยเองเพิ่งได้เจอโลกธรรม 8 อย่างเป็นประสบการณ์โดยตรงในช่วงนี้เอง ตอนนี้เขาอายุล่วงเจ็ดสิบปีเข้าสู่วัยชราแล้ว มีอายุใกล้เคียงกับพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอนที่ดับขันธ์แล้วเขารู้ตัวดีว่าอีกไม่นานเขาคงจากโลกนี้ไปเช่นกัน ท่ามกลาง "ปราสาททราย"แห่งมายาสถานะของผู้ยิ่งใหญ่จากสำนัก "ฉับพลัน"ฝ่ายใต้ที่ไม่จีรังตอนนั้นเองที่พระเสินฮุ่ยพลันได้คิดและคิดตกเขากลับไปนั่งกรรมฐานอย่างจริงจังอีกครั้งเหมือนสมัยหนุ่มๆ หลังจากทอดทิ้งกรรมฐานมาสี่สิบกว่าปี เพราะมัวแต่ไปหมกมุ่นคิดจะสร้างตำนานความยิ่งใหญ่ให้แก่สำนักฝ่ายใต้ของพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงผู้มีพระคุณของตนพระเสินฮุ่ยละสังขารในปี ค.ศ. 758 ตอนอายุ 74 ปีเท่ากับอายุตอนพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงดับขันธ์พอดีว่ากันว่าพระเสินฮุ่ยละสังขารในท่านั่งสมาธิแบบเดียวกับพระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงผู้เป็นคุรุของเขาอิทธิพลทางความคิดที่พระเสินฮุ่ยมีต่อคำสอนนิกายเซนหลังจากนั้นผ่านการปรับแก้ "สูตรของเว่ยหล่าง" ยังคงดำรงอยู่จนทุกวันนี้สุวินัย ภรณวลัย