บอร์ด ความรัก,พุทธธรรมกับการจำแนกคนด้วยฐานคิดประเภท ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัสพุทธธรรม กับ การจำแนกคนด้วยฐานคิด 3 ประเภท/////จงปฏิบัติหนักอย่างสงบเงียบแล้วปล่อยให้ความสำเร็จเป็นผู้ส่งเสียง......เวลากวาดตามองผู้คนในโลกโซเชียล การจำแนกผู้คนโดยแบ่งตามฐานคิด 3 ประเภท เป็นวิธีการที่สะดวกมากในการคัดกรองคนที่ผมจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยอย่างเหมาะสมโดยทั่วไปผู้คนในสังคมไทยมีฐานคิด 3 ประเภทคละเคล้ากันไป คือหนึ่ง : ฐานคิดแบบ Pre-Modern (ก่อนทันสมัย)สอง : ฐานคิดแบบ Modern (ทันสมัยนิยม) และสาม : ฐานคิดแบบ Postmodern (หลังทันสมัย)......ในที่นี้ผมขอกล่าวเฉพาะการตีความพุทธธรรมตามฐานคิด 3 ประเภทข้างต้นเท่านั้นแล้วผู้อ่านคงจะเข้าใจได้ว่าการจำแนกตามฐานคิด 3 ประเภทนี้ มันสำคัญอย่างไรต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "พุทธธรรม" ของตัวเราเองและของผู้อื่น(1) ฐานคิดแบบ "ก่อนทันสมัย" ที่ทรงอิทธิพลต่อความเข้าใจพุทธธรรม คือระบบความเชื่อแบบไตรภูมิของพุทธศาสนาที่กลมกลืนไปกับความเชื่อเรื่องไสยเวท(ไสยศาสตร์)และพลังเหนือธรรมชาติ(2) ฐานคิดแบบ "ทันสมัยนิยม" ที่ทรงอิทธิพลต่อความเข้าใจพุทธธรรมคือ ระบบคิดแบบวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ การเคารพข้อเท็จจริง รวมทั้งการตีความพุทธธรรมแบบเหตุผลนิยมของท่านพุทธทาส(3) ฐานคิดแบบ "หลังทันสมัย"ที่เป็นที่นิยมในหมู่พวก "หัวก้าวหน้า"ไทย คือ ระบบคิดที่มุ่ง "ถอดรื้อ"อำนาจและโครงสร้างอำนาจในสังคมไทยอย่างเอาเป็นเอาตายหลักๆก็คือมุ่งถอดรื้อความเป็นไทย โดยมุ่งถอดรื้อความเป็นชาตินิยม (แล้วแทนที่ด้วยชุดความคิดความเชื่อแบบสากลนิยม)ตามด้วยมุ่งถอดรื้อสถาบันศาสนา (แล้วแทนที่ด้วยชุดความคิดความเชื่อเรื่องรัฐโลกวิสัย (Secular State) ที่รัฐควรจะถอยออกมาโดยไม่อุปถัมถ์ศาสนาใดๆเลย)และสุดท้ายจบลงด้วยมุ่งถอดรื้อสถาบันกษัตริย์ (ลดทอนพระราชอำนาจและพระบารมีให้กลายเป็นแค่สัญลักษณ์เฉยๆเท่านั้น หนักสุดคือมุ่งล้มล้างสถาบันกษัตริย์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ)จะเห็นได้ว่าฐานคิดแบบ "หลังทันสมัย" นั้นมุ่งเข้าใจพุทธธรรมด้วยการ "ถอดรื้อ" ตัว "พุทธธรรม" โดยตรง.....จะเห็นได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้หรือแทบเรียกได้ว่าเกือบทั้งประเทศ คือคนที่มีฐานคิดและโลกทัศน์แบบ "ก่อนทันสมัย" (ฝากชีวิตไว้กับดวง) กับฐานคิดและโลกทัศน์แบบ "ทันสมัยนิยม" (ชะตาชีวิตคนเราต้องลิขิตเองด้วยหนึ่งสมองสองมือด้วยความพากเพียรอย่างยิ่งยวด) ผสมปนเปกันไปในตัวตนของเขาโดยมีสัดส่วนมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละปัจเจกมีคนไทยกลุ่มน้อยเท่านั้นที่หลงไหลเลื่อมใสฐานคิดและโลกทัศน์แบบ "หลังทันสมัย" ล้วนๆ และอุทิศชีวิตทั้งหมดของตนเองเพื่อเผยแพร่ความคิดความเชื่อแบบหลังทันสมัยของตนคนไทยกลุ่มนี้คือ แกนนำขบวนการความคิดหัวก้าวหน้าไทย(ลิเบอร่าน) หรือขบวนการโพสต์โมเดิร์นไทยที่มุ่งถอดรื้ออำนาจและโครงสร้างอำนาจในสังคมไทยอย่างไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆทั้งสิ้นนั่นเอง.....อันที่จริงมุมมองแบบ Postmodern ที่พวกร่านไทยเชื่อ มันก็มี "ความจริง" ของมันอยู่บ้าง ถ้ามองแบบคนตาบอดคลำช้างฐานคิดแบบ Postmodern จึงไม่ได้ผิดทั้งหมด แต่มันถูกแค่เฉพาะส่วนบางส่วนเท่านั้นเพียงแต่มันดู "จริงเหลือเกิน" สำหรับคนที่หลงไหลความคิดโพสต์โมเดิร์นโดยไม่สามารถ "เห็น" ความคิดของตัวเองได้กระจ่างแจ้งทั้งข้อดีและข้อจำกัดของความคิดนั้นพอพวกร่านไทยยึดติดกับโพสต์โมเดิร์นล้วนๆ จุดอ่อนในการมองปัญหาต่างๆของพวกเขาจึงมาจากการ "มโนเอง" มากกว่าดูข้อเท็จจริงแบบพวกโมเดิร์นหรือทันสมัยนิยมอย่างที่เห็นกัน ในโลกโซเชียลการสถาปนาความเป็นใหญ่ทางอุมการณ์ (Hegemony) จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย ถ้ายังไม่สามารถบูรณาการฐานคิดทั้ง 3 ประเภทได้อย่างกลมกลืนและเป็นองค์รวม มาชี้นำประเทศและมหาชนได้การที่พวก "คนรุ่นใหม่" จะชี้นำประเทศนี้ได้ก็ต่อเมื่อพวกเขามีวิชั่นที่สามารถบูรณาการฐานคิดแบบก่อนทันสมัย ฐานคิดแบบทันสมัยนิยมและฐานคิดแบบหลังทันสมัยมาชี้นำสังคมและมหาชนได้เสียก่อนพวกเขาจึงจะสามารถ"ได้ใจ" สังคมและมหาชนได้ แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้พวกเขาทำไม่ได้เพราะมีแต่ Postmodern Only !แถมยังเป็นโพสต์โมเดิร์นที่สามานย์ด้วย หาความลึกซึ้งทางความคิดไม่ได้เลยส่วนพวกสาวกก็แค่แชร์ตามศาสดาของตัวเองเท่านั้น ความสามารถในการคิด-วิเคราะห์-แยกแยะ แบบพวกโมเดิร์นหรือทันสมัยนิยมก็ยังไม่มีเลย......แล้วฐานคิดแบบโมเดิร์นเล่า?จุดอ่อนของฐานคิดแบบโมเดิร์นนั้นปรากฏชัดเจนในการทำความเข้าใจเรื่องจิตและการเข้าถึงพุทธธรรมการกระตุ้นให้ผู้คนตั้งคำถาม และคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องดี อย่างน้อยก็ดีกว่าคิดไม่มีเหตุผลแต่ถ้าเพียงใช้ "ความคิด" และ "เหตุผล" เป็นเครื่องมือ แล้วลดทอนพุทธธรรมให้กลายเป็นวิทยาศาสตร์ นั่นคือสิ่งที่ต้องระวัง"ความรู้" ในทางพุทธศาสนา มิใช่ความรู้ที่ได้มาด้วย "การอ่าน" ... ตรงนี้คือ อันตรายที่สุดของปัญญาชนพุทธหรือ นักวิชาการพุทธซึ่ง "อ่าน" และ "แตกฉาน" ในคัมภีร์อย่างหาตัวจับได้ยากการท่องไตรปิกฏได้ทั้งหมด จดจำคำพระพุทธเจ้าได้ทุกคำ วิเคราะห์ข้อธรรมข้อต่างๆได้อย่างแตกฉาน โดยตัวมันเองไม่ใช่ "เงื่อนไขเพียงพอ" ที่จะเกิดความรู้ (หรือญาณปัญญา) ทางพุทธศาสนาบางคนอ่านมากอาจนำไปสู่ "กับดักแห่งความหลง" ไปคิดว่าตัวเองรู้ (มากกว่าชาวบ้าน) จับโน่นนี่ไปจินตนาการ ตาม "การปรุงแต่ง" ของจิตตัวเองเท่านั้นนอกจากนี้ การ "อ่าน" วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นนักวิทยาศาสตร์เสมอไปอย่างดีมันก็แค่ก็ทำให้เราแค่ "รู้จำ" ข้อความทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น รู้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะวิทยาศาสตร์เองก็มีกระบวนการซับซ้อนทั้งทางวิธีวิทยา ทั้งทางสังคม ในการตัดสินว่าอะไรเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์การรู้เพียงจากการ "อ่าน" อาจช่วยให้เปิดหูเปิดตา ความคิดเปิดกว้าง โลกไม่แคบ แต่ก็ต้องตระหนักว่ามันมีข้อจำกัดที่เอามาพูดบางอย่างไม่ได้ และอะไรที่พูดไม่ได้ด้วยข้อจำกัดของการ "อ่าน" ก็พึงรู้ว่าไม่ควรพูดเพราะไม่ได้รู้จริงพอที่จะพูดญาณปัญญาในพุทธศาสนา ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากลำพังการคิดหรือการลำดับเหตุผลญาณปัญญาถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญของพุทธศาสนามากกว่าความรู้พระพุทธเจ้าเองทรงเลือกที่จะไม่ตอบคำถามแนวความรู้หลายคำถามเพราะเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้เกิดญาณปัญญาตรงนี้เราต้องชัดว่า อะไรคือที่มาของปัญญาญาณทางพุทธศาสนา และอะไรที่ว่านั้นแตกต่างจากการได้มาของความรู้หรือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?หลวงปู่ หลวงตา ท่านไม่เคยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ท่านก็ "เข้าถึง" "หยั่งถึง" ธรรมชาติของจิตได้ ด้วยวิธีการ "ปฏิบัติ" อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการ "ตื่น" ของจิตขณะที่นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งๆและรู้เรื่องศาสนาตะวันออกมากบางคนกลับเป็นคนที่คิดค้นระเบิดปรมาณูสำเร็จและไม่ได้มีญาณปัญญาพอที่จะคำนึงถึงผลที่จะตามมาทางจริยธรรมของสิ่งที่เขาค้นพบ แม้ว่าตนเองจะ "อ่าน" คัมภีร์ศาสนาตะวันออกอย่างแตกฉานก็ตามในเบื้องต้น พุทธศาสนาอาจมีบางมิติที่ดูมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนาอื่นๆ อาจมีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจพุทธศาสนามากกว่าศาสนาอื่นโดยเฉพาะการค้นคว้าทดลองเรื่อง "การเจริญสติ" อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่เฟื่องฟูมากในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมาแต่นั่นไม่เท่ากับการประกาศว่าศาสนาพุทธ เป็นวิทยาศาสตร์......ผมไม่คิดว่าคุณวิเศษเรื่องสัพพัญญูของพระพุทธเจ้าจะเป็นแค่คำอุปมาหรือคำยกย่องธรรมดาเท่านั้นวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่ล้ำเลิศในการเรียนรู้ "ความจริงภายนอก" ด้วยวิธีการเชิงประจักษ์นิยม (Positivism) ก็จริงแต่วิธีการนี้มันใช้ไม่ได้ผลกับการเรียนรู้ "ความจริงภายใน" (ซึ่งเป็นความจริงเชิงอัตวิสัย) ที่เป็นเรื่องของการเข้าถึงและการให้ความหมายสั้นๆ กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาตร์ กับกระบวนการเข้าถึงพุทธธรรม มันคนละพรมแดนกัน และไม่อาจลดทอนพรมแดนอื่นลงด้วยวิธีการที่ถนัดในพรมแดนของตนเองได้วิธีการเข้าถึงพุทธธรรมย่อมไม่อาจใช้ได้ผลในพรมแดนของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์เช่นกัน และไม่ควรเอามาอวดอ้างแบบ "วิทยาศาสตร์เทียม"โดย "ชาวพุทธ"อันตรายจึงมีสองด้าน ทั้งจากชาวพุทธที่แอบอ้าง "วิทยาศาสตร์เทียม" เพื่อเชิดชูอัตตาความเชื่อเรื่องพุทธของตนเองด้วยวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์และจากพวกที่มองพุทธธรรมด้วยอัตตาตัวตนของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์อย่างเดียวโดยไม่สนใจมิติอื่นๆ.....หากพิจารณาในมุมมองของทักษะแบบพหุปัญญา คนเก่งเรื่องจิต กับคนเก่งคณิตศาสตร์ และคนเก่งเรื่องศิลปะการต่อสู้มันเป็นความเก่งคนละทักษะกันแต่มีบ้างเหมือนกันแต่หาได้ยากยิ่ง ที่คนๆหนึ่ง สามารถมีพหุปัญญาที่เก่งในทักษะหลายแขนงในตัวคนๆเดียวแบบ "เรเนซอง แมน" ได้ทักษะการเข้าถึงพุทธธรรม เป็นทักษะทางจิตประเภทเดียวที่เป็นปัญญาปรมัตถ์ขณะที่ทักษะประเภทอื่นที่เหลือทั้งหมด (รวมทั้งทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์) เป็นปัญญาบัญญัติทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น คนที่จะชี้นำสังคมได้จริง คือคนที่สามารถสังเคราะห์ฐานคิดหรือ โลกทัศน์ 3 ประเภทนี้เข้าด้วยกันอย่างเป็นองค์รวมและอย่างบูรณาการเท่านั้นสุวินัย ภรณวลัย