บอร์ด เกย์ โพสท์โดย tanarag‘เพศก็เหมือนเสื้อผ้า-อาหาร’ กะเทาะอินไซต์ความหลากหลายทางเพศ มากกว่าแค่ LGBT แต่มีถึง 30 กลุ่มทุกคนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่าความหลากหลายทางเพศ เพราะไม่ใช่ประเด็นใหม่ทางสังคม แต่เป็นประเด็นที่เริ่มมีบทบาทในการขับเคลื่อนมิติต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิความเท่าเทียม หรือในแง่ของการเป็นกลุ่มเป้าหมายที่บรรดาแบรนด์หรือนักการตลาดเริ่มหันมาให้ความสนใจและพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต วิธีคิดและความรู้สึกที่มีต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดจากคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้นมากกว่าแค่ LGBT เพราะเพศหลากหลายกว่าที่คิดเริ่มกันด้วยประเด็นความหลากหลายทางเพศ ที่เรามักจะได้ยินคำเรียกคนกลุ่มนี้อย่างง่ายๆ ว่า LGBT ซึ่งเป็นตัวย่อของ 4 กลุ่มหลักๆ ที่สามารถให้คำจำกัดความและบุคลิกลักษณะที่ชัดเจนได้ตาม 3 องค์ประกอบ คือ เพศกำเนิด เพศสภาพ และรสนิยมทางเพศ จนได้มาซึ่ง 4 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วยL: Lesbian ซึ่งจะมีเพศกำเนิด เพศสภาพ และรสนิยมทางเพศ เป็นผู้หญิงทั้งหมด คือเกิดและแต่งตัวหรือมีเพศสภาพในปัจจุบันเป็นผู้หญิง รวมทั้งมีรสนิยมชื่นชอบผู้หญิงด้วยกันG: GAY  มีเพศกำเนิด เพศสภาพ และรสนิยมทางเพศ เป็นผู้ชายทั้งหมด คือเกิดและแต่งตัวเป็นผู้ชาย รวมทั้งมีรสนิยมชื่นชอบผู้ชายด้วยกันB: Bisexual  ซึ่งจะมีเพศกำเนิดและเพศสภาพที่เป็นชายหรือหญิงทั่วไป แต่จะมีรสนิยมความชอบทางเพศที่ชื่นชอบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงT: Transgender คือ กลุ่มที่มีเพศกำเนิดและเพศสภาพที่ไม่ตรงกัน หรือเป็นคนข้ามเพศนั่นเอง เช่น มีเพศกำเนิดเป็นชายแต่มีเพศสภาพในปัจจุบันเป็นหญิงทั้ง 4 กลุ่มนี้ เป็นเพียงกลุ่มที่สามารถแยกย่อยและแบ่งกลุ่มได้โดยง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความหลากหลายทางเพศมีมากกว่านี้ ยังมีคำจำกัดความและรายละเอียดในการระบุเพศที่ซับซ้อน ทำให้อาจจะต้องลงลึกไปถึงเรื่องส่วนตัวจึงยากต่อการได้ข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งเรื่องนี้ ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ งานวิจัย ‘Spectrum Marketing สะท้อนมุมมองใหม่ พิชิตใจชาวสีรุ้ง’ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน ที่แม้แต่ในกลุ่มใหญ่ๆ อย่าง LGBT ก็ยังมีสถานะอื่นๆ แยกย่อยลงไป เมื่อเพิ่มองค์ประกอบในการพิจารณาอื่นๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมหรือรสนิยมในเรื่องเพศ ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการให้คำจำกัดความว่าจะกระทบความรู้สึก หรือก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของกลุ่มคนเหล่านี้หรือไม่“ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เช่น ในกลุ่มหญิงรักหญิงก็อาจจะมีทั้งทอมหรือดี้ หรือในทอมเองก็จะมีทั้งคนที่ยังเป็นผู้หญิงอยู่ซึ่งอาจจัดเป็นกลุ่ม L หรือคนที่แปลงเพศแล้วที่จัดเป็นกลุ่ม T ได้ด้วย แม้แต่กลุ่มเกย์เองก็จะมีทั้งที่เรียกตัวเองว่า King หรือ Queen หรือแม้แต่ Queer ที่หมายถึงกลุ่มที่ไม่ยึดติดกรอบทางเพศใดๆ ทำให้บางครั้งเราอาจได้ยินคำเรียกรวมๆ ว่า LGBTQ ซึ่งหากศึกษาผลวิจัยด้านเพศในต่างประเทศจะพบว่าความหลากหลายทางเพศมีอยู่จำนวนมาก เช่น การศึกษา Australian sex survey โดย Theเพศก็เหมือนเสื้อผ้าอาหารrsquoกะเทาะอินไซต์ความหลากหลายทางเพศมากกว่าแค่LGBTแต่มีถึงกลุ่ม Queensland University of Technology (QUT) ที่แบ่งเพศได้ถึง 33 กลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีเพศหลากหลาย เช่น Poligender, Bigender, Omnigender, Androgyne หรือแม้แต่หน่วยงานที่ดูแลด้าน Human Right ของนิวยอร์กเองยังระบุว่าให้ลืมคำจำกัดความเดิมๆ ของคำว่าเพศไป เพราะตอนนี้เพศมีหลากหลายถึง 31 กลุ่มแล้ว แม้แต่ในประเทศไทยเองก็สามารถแบ่งความหลากหลายทางเพศออกได้ไม่ต่ำกว่า 7-8 กลุ่มเลยทีเดียว”  ที่สำคัญมีคนบางกลุ่มที่ไม่ระบุสถานะทางเพศของตัวเอง หรือขณะที่บางคนแม้จะมีภาพลักษณ์ทางเพศเป็นแบบหนึ่ง แต่ในบางเวลาก็จะมีความรู้สึกหรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากช่วงเวลาปกติ เช่น เราอาจจะเห็นทอมบางคนที่มีแฟนเป็นผู้ชาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีความชื่นชอบผู้หญิงอยู่  หรือในกลุ่มคนข้ามเพศ หรือแม้แต่เพศชายหรือหญิงทั่วไปที่อาจไม่ได้มีรสนิยมทางเพศที่ตายตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนหนึ่งคนอาจจะมีความหลากหลายทางเพศอยู่ในตัว และเลือกที่อยากจะแสดงแง่มุมหรือความเป็นตัวตนด้านใดของตัวเองออกมา ไม่ต่างกับการเลือกใส่เสื้อผ้าที่แตกต่างกันในแต่ละวัน บางวันอาจจะอยากแต่งตัวแบบเรียบง่าย เท่ๆ หวานๆ ห้าวๆ หรือรสนิยมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัน บางวันอาจจะอยากรับประทานในโรงแรมหรู ร้านอาหารทั่วไป ผับ บาร์ ไปจนถึงสตรีทฟู้ดนั่นเอง    ประชากร LGBT ยุคมิลเลเนียลไม่ต่ำกว่า 20%   ไม่ว่าความหลากหลายทางเพศจะแยกย่อยอย่างไร แต่กลุ่มที่สามารถ Grouping ออกมาเพื่อทำการศึกษาได้อย่างชัดเจนมากที่สุดยังคงเป็น 4 กลุ่มหลักอย่าง LGBT และจัดเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากศักยภาพที่มีอยู่สูงทั้งในเรื่องของกำลังซื้อ และการขยายตัวของคนกลุ่มนี้ที่ปัจจุบันได้ก้าวข้ามจากการเป็น Niche Market มาเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียวตามข้อมูลที่งานวิจัย ‘Spectrum Marketing สะท้อนมุมมองใหม่ พิชิตใจชาวสีรุ้ง’ โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้หยิบยกจาก LGBT-Captial.com เว็บไซต์ศูนย์รวมของชาว LGBT ได้ประมาณการจำนวนประชากรในกลุ่ม LGBT ที่มีอยู่ทั่วโลก ไว้เมื่อปี 2559 ว่าน่าจะอยู่ที่ราว 483 ล้านคน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่มีกลุ่ม LGBT สูงถึง 288 ล้านคน หรือ 60% ของชาว LGBT ทั่วโลก โดยจีนมีกลุ่ม LGBT สูงที่สุดถึง 90 ล้านคน ตามมาด้วยอินเดียที่มี 84 ล้านคน และญี่ปุ่น 8.2 ล้านคนนอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรในยุคมิลเลเนียลหรือกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดระหว่างปี 1980 – 2000 จากทั่วโลก มีจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่ม LGBT ถึง 20% เลยทีเดียวและหากลงลึกมาที่กลุ่ม LGBT ของประเทศไทย จะพบว่ามีจำนวนสูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีถึง 4.2 ล้านคน และมีรายได้สูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดานักการตลาดหรือแบรนด์ต่างๆ จะอยากเข้ามาทำความรู้จัก เพื่อเข้าใจและเข้าถึงคนกลุ่มนี้ให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ตัวเลขเหล่านี้น่าจะขยับสูงมากกว่าที่ปรากฏอยู่ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ทำไว้ตั้งแต่เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมาแล้วLGBT Friendly ปัจจัยหลัก ทำให้ยอมควักกระเป๋าแม้ปัจจุบันเราจะรู้สึกว่า มีการเปิดรับและยอมรับความหลากหลายทางเพศเพิ่มมากขึ้น แต่ในความรู้สึกของกลุ่ม LGBT ยังรู้สึกได้ถึงความไม่เท่าเทียมกันและถูกปิดกั้น หรือเลือกปฏิบัติในบางอย่าง ทำให้ความรู้สึกว่าการได้รับการยอมรับ มีความเป็นมิตร และปลอดภัย เป็นสิ่งที่คนในกลุ่ม LGBT ให้ความสำคัญ สะท้อนจากงานวิจัย INTO and Brand Innovators ที่ระบุ 70% ของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการจากแบรนด์ใดๆ เมื่อรู้สึกได้ถึงความเป็นมิตร หรือมี LGBT Friendly ตั้งแต่แรกพบ ไม่ว่าแบรนด์นั้นๆ จะมีภาพลักษณ์ในเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งอีกเกือบ 50% ที่เลือกจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้กลุ่ม LGBT ร่วมแสดงในโฆษณาขณะที่การออกแบบหรือเลือกใช้สีของสินค้าหรือหรือเสื้อผ้าก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนกลุ่มนี้ตัดสินใจซื้อได้ด้วย เพราะแม้จะได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มสีรุ้ง หรือเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ที่ค่อนข้างโดดเด่น เป็นตัวของตัวเอง แต่กลับไม่ได้ชอบสินค้าหรือเสื้อผ้าที่มีสีสันฉูดฉาด แต่จะชอบสีที่เรียบง่าย ดูหรูหราและสามารถใช้งานได้หลายโอกาส โดยงานวิจัย ‘Spectrum Marketing สะท้อนมุมมองใหม่ พิชิตใจชาวสีรุ้ง’ ครั้งนี้ ได้ระบุสีที่กลุ่ม LGBT ชื่นขอบมากที่สุด 4 สีเรียงตามลำดับความชอบ ได้แก่ สีดำ สีขาว สีเทา และสีน้ำเงินนอกจากนี้ เมื่อลงรายละเอียดทั้ง 4 กลุ่ม ใน L G B และ T จะพบว่าแต่ละกลุ่มมีความชื่นชอบและมีไลฟ์สไตล์ในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกัน รวมทั้งคาแร็คเตอร์และความเป็นตัวของตัวเอง ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้นักการตลาดสามารถทำความเข้าใจแต่ละกลุ่มได้อย่างถ่องแท้และลึกซึ้งได้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ รวมทั้งวิธีสื่อสารที่ตรงใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการเลือกซื้อเสื้อผ้า การดูแลสุขภาพ การออมเงิน การท่องเที่ยว รวมทั้งการเลือกใช้ช่องทางสื่อสารที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยมีรายละเอียดในแต่ละเรื่อง  ดังต่อไปนี้คาแร็คเตอร์ที่สะท้อนตัวตนL= จริงใจ/ เรียบง่าย/ น่ารัก,  G= เลิศที่สุด/ มีสไตล์/ แซ่บ,B= เรียบแต่โก้/ ใจดี/ พูดน้อยต่อยหนัก, T= สวยประหาร/ สู้ไม่ท้อ/ เต็มที่กับทุกสิ่งการเลือกซื้อเสื้อผ้าและการแต่งกาย   L = ชื่นชอบเสื้อผ้าที่มีความสดใส และมีชีวิตชีวาตามสไตล์แบบผู้หญิงB =  ทั้งที่มีเพศกำเนิดเป็นชายและหญิง จะชอบแต่งกายแบบเรียบง่าย และเหมาะสมกับโอกาสในการใช้งานกลุ่ม G และ T ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง = นิยมสินค้าที่ดูหรูหรา ชอบแบรนด์เนม เพราะทำให้มั่นใจเวลาใช้งาน และถ่ายรูปออกมาแล้วดูดีกลุ่ม T ที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย =  ชอบแนวเรียบหรู ดูแพง เหมาะกับตัวเอง และมีความเซ็กซี่ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าแต่ละครั้ง กลุ่ม G จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่เฉลี่ยเกือบ 3,000 บาทต่อครั้ง เนื่องจากเน้นที่ความชื่นชอบและพึงพอใจโดยไม่ได้สนใจเรื่องงบประมาณ ถ้าเจอดีไซน์ที่ถูกใจหรือคิดว่าเหมาะกับตัวเอง และยังชื่นชอบแบรนด์เนมอีกด้วย ขณะที่กลุ่ม T ถ้ามีโปรโมชั่นที่โดนใจมากระตุ้นก็จะทำให้ซื้อได้บ่อยมากขึ้น ส่วนกลุ่ม L และ B ค่อนข้างใช้เหตุผลในการตัดสินใจ โดยเฉพาะการคำนึงถึงโอกาสในการใช้งานและความคุ้มค่าการดูแลสุขภาพพบว่า กลุ่ม G จะให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและรูปร่างด้วยการออกกำลังกายมากกว่าการคุมอาหาร โดยเลือกที่จะออกกำลังกายโดยการวิ่งถึง 54% และการคุมอาหาร 47% เพื่ออยากให้มีรูปร่างที่ดี ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มนี้ ควรโฟกัสการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหรือการออกกำลังกายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและช่วยกระตุ้นยอดขายได้มากขึ้นขณะที่ กลุ่ม L B และ T จะเน้นที่การควบคุมอาหารเป็นหลักด้วยสัดส่วนถึง 64% ตามมาด้วยการออกกำลังกาย และรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากอยากดูแลสุขภาพและรูปร่างแต่ไม่มีเวลามากพอ โดยภาพรวมทั้ง LGBT มีถึง 67% ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานวิตามิน C E B และซิงค์ (Zinc)การออมเงินพบว่า กลุ่ม B ให้ความสำคัญกับการออมมากที่สุด เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยการออมต่อสัดส่วนรายได้ จะพบว่า กลุ่ม B มีสัดส่วนการออมที่ 17% ตามมาด้วย กลุ่ม G และ T อยู่ที่ 15% และกลุ่ม L มีสัดส่วนการออมน้อยที่สุด 11%  โดยมีเหตุผลในการออมเพื่อดูแลครอบครัวและคนที่รัก เพื่อดูแลตัวเอง และเพื่อการลงทุน โดยกลุ่ม L จะให้สัดส่วนสำหรับการดูแลครอบครัวและคนรักสูงที่สุดถึง 43% ตามมาด้วยการดูแลตัวเองและการลงทุนที่ 33% และ 24% ตามลำดับขณะที่กลุ่ม T B และ G  จะให้น้ำหนักส่วนใหญ่เพื่อการดูแลตัวเอง ตามมาด้วยการดูแลครบครัวคนรัก และการลงทุน โดยสาเหตุสำคัญที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการออมเนื่องจาก ต้องการให้ครอบครัวภูมิใจ หรือการเก็บไว้ท่องเที่ยว การศึกษา หรือการใช้จ่ายในอนาคต รวมทั้งเพื่อดูแลตัวเองหลังเกษียณเนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่มีลูก จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะสถาบันการเงินต่างๆ ควรคำนึงถึง และพยายามพัฒนารูปแบบการออมหรือการประกันต่างๆ ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับคนกลุ่มนี้มากขึ้นไลฟ์สไตล์ด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะมีทั้งการท่องเที่ยวสั้นๆ ภายใน 1 วัน และการท่องเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดยาว โดยพบว่า หากเป็นการท่องเที่ยวแบบสั้นๆ  กลุ่ม L G และ B จะเลือกท่องเที่ยวในสถานที่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น  ช้อปปิ้ง ดูหนัง ไหว้พระใน กทม. หรือไปต่างจังหวัดใกล้ๆ ที่สามารถไปได้แบบเช้าไปเย็นกลับ  ส่วนกลุ่ม T ที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย เลือกที่จะพักผ่อนอยู่บ้าน เพราะมองว่าได้พักผ่อนจริงๆ และไม่ต้องการให้ผิวเสียแต่หากเป็นการพักผ่อนในวันหยุดยาว กลุ่ม L จะนิยมท่องเที่ยวในประเทศ เพราะรู้สึกสะดวกมากกว่า ส่วนกลุ่ม G จะชอบไปสถานที่ที่เป็นแลนด์มาร์กสวยๆ หรือนิยมไปต่างประเทศ เช่นเดียวกับกลุ่ม B ที่นิยมชอบเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ส่วนกลุ่ม T จะมองว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศมีขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองที่ซับซ้อนและต้องเตรียมเอกสารยุ่งยาก จึงนิยมเที่ยวในประเทศมากกว่า ส่วนคนร่วมเดินทางนั้น กลุ่ม L และ T จะชอบไปท่องเที่ยวกับแฟนหรือคนรัก ส่วนกลุ่ม G และ B ชอบที่จะท่องเที่ยวกับเพื่อนมากที่สุดสำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวที่กลุ่ม LGBT ชื่นชอบจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น ทะเล น้ำตก ภูเขา เนื่องจาก ให้ความรู้สึกสบาย เหมือนได้มาอีกโลกหนึ่งที่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ ตามมาด้วยการท่องเที่ยวในตัวเมืองและจุดที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญต่างๆ ขณะที่การเตรียมตัวและวางแผนในการเดินทาง มีถึง 48% ที่เลือกวางแผนไว้ล่วงหน้าผ่านการอ่านรีวีวข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต และอีก 30% ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่ชอบขับรถไปเรื่อยๆ เมื่อเจอสถานที่หรือร้านค้าน่าสนใจก็จะแวะพักระหว่างการขับรถการเลือกใช้ช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่ม LGBT กลุ่ม LGBT จะนิยมใช้แอพพลิเคชั่นทั้งที่เป็นแอพเฉพาะกลุ่มและแอพที่ใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะ Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่คนกลุ่มนี้ใช้งานสูงสุดถึง 77% เนื่องจากมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครอบคลุมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ Live Chat VDO  หรือการติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมไปถึงสามารถส่งข้อความได้ทั้งสั้นและยาวโดยไม่มีข้อจำกัด ตามมาด้วย Instagram 7% Twitter 6% และ Line 5%ส่วนแอพเฉพาะกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีความนิยมแตกต่างกันไป โดยกลุ่ม L จะนิยมใช้แอพ Spicy หรือ Les Park ซึ่งเป็นที่นิยมของคนโสด กลุ่ม G นิยมใช้ Grindr หรือ Jack’D รวมทั้งยังนิยมเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความสนใจไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ กลุ่ม T นิยมใช้ WeChat หรือ BeeTalk โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การเช็คเรทติ้งของตัวเอง และสุดท้ายคือ กลุ่ม Bisexual ที่จะไม่ค่อยใช้แอพเฉพาะกลุ่ม เนื่องจากส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเปิดเผยตัวตนส่วนช่วงเวลาในการรับสื่อของกลุ่ม LGBT ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 18.00-24.00 น. มีสัดส่วนถึง 74% โดยกลุ่ม L B และ T มักจะใช้ในช่วง 18.00 -21.00 น.มากกว่า ขณะที่ กลุ่ม G จะนิยมใช้ในช่วง 21.00-24.00 น. ดังนั้น หากอยากเข้าถึงคนกลุ่มนี้ผ่านสื่อออนไลน์ ควรเน้นระยะเวลาในช่วงหลังหกโมงเย็นไปจนถึงเที่ยงคืน เนื่องจากเป็นช่วงที่คนกลุ่มนี้มักจะใช้สื่อออนไลน์มากที่สุดนั่นเอง รวมไปถึงการเลือกรูปแบบคอนเทนต์ที่เป็นรูปภาพ หรือวิดีโอ และเลือกลักษณะเนื้อหาที่คนกลุ่มนี้ชื่นชอบ ในเรื่องของการท่องเที่ยว การสร้างแรงบันดาลใจ หรือเรื่องราวตลกต่างๆ เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะชื่นชอบมุมมองหรือเรื่องราวในเชิง Positive มากกว่า8 กลยุทธ์ พิชิตใจชาวสีรุ้งเมื่อเข้าใจอินไซต์และพฤติกรรมของกลุ่ม LGBT แล้ว จำเป็นที่ต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถเข้าใจ เข้าถึง และได้รับการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายสำคัญนี้  โดยเฉพาะการใช้ 8 กลยุทธ์ ตามแนวคิด SPECTRUM MARKETING ซึ่งออกแบบมาจากอินไซต์และพฤติกรรมต่างๆ จากการศึกษากลุ่ม LGBT ซึ่งประกอบไปด้วยSimple การเลือกสินค้า บริการ หรือวิธีการสื่อสารแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีขั้นตอนซับซ้อนหรือเข้าใจได้ยากมากนักPrivate การจัดกิจกรรมภายในกลุ่มที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่Equality สร้างความรู้สึกเท่าเทียม หรือการได้รับโอกาสต่างๆ ในสังคมอย่างเสมอภาค โดยเฉาะการมีโอกาสได้เลือกใช้สินค้าหรือบริการได้ตามต้องการClassy ส่งเสริมความรู้สึกดูดี มีระดับ มีรสนิยม ด้วยการเลือกใช้วัสดุ โทนสี หรือการตกแต่ง รวมทั้งการมอบบริการอย่างมีระดับTruth  ความจริงใจ ไม่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลอย่างคลุมเครือ เพื่อสร้างความเชื่อถือและความไว้วางใจRespect  ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการให้เกียรติ เคารพในตัวตน เพราะต้องการที่จะได้รับการยอมรับในสังคม โดยเฉพาะเรื่องของความหลากหลายทางเพศUtility  คำนึงถึงอรรถประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ รวมทั้งต้องเป็นสินค้าคุณาภพ และมีมาตรฐานMotivation การสร้างแรงจูงใจโดยเชื่อมโยงถึงความภาคภูมิใจในตนเอง ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือสร้างแรงบัลดาลใจในการใช้ชีวิต หรือการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าวๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการยอมรับทางเพศ