บอร์ด ความรัก,เมื่อแม่ป่วยด้วยsleแพ้ภูมิตัวเอง ประสบการณ์ช.. เนื้อหาโดย Nuilampangทำไมโรคsleนี้ฉันถึงต้องศึกษาเพราะแม่ฉันเป็นอยู่ทุกวันนี้เพราะโรคนี้มันมีหลายระดับของอาการแต่ล่ะผู้ป่วยและแพทย์จะบอกว่าอยู่ที่ระดับไหนแล้วนั้นเอง(ปัจุบันฉันทำงานและฉันจะหยุดงานวันที่แพทย์นัดแม่ตรวจด้วยอาการที่มีมาหลายๆโรค)5 อาการบ่งบอกสัญญาณโรคพุ่มพวง หรือ SLE5 อาการบ่งบอกสัญญาณโรคพุ่มพวง...3 ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นอาการกำเริบ (Be Well)โดย อ.มงคลศิลป์ บุญเย็น ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์การแพทย์ทางเลือกเพื่อบำบัดมะเร็ง และผู้อำนวยการมูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็งผู้ป่วยโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง แต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปจะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะ หรือหลายระบบของร่างกาย บางรายจะเกิดอาการขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หากมีไข้ต่ำ ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานาน มีอาการปวดตามข้อ มีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า หรือมีผื่นคันบริเวณที่ถูกแสงแดด ผมร่วงมากผิดปกติ มีอาการบวมตามขา หน้าหรือหนังตา และโดยเฉพาะผู้หญิงที่ประจำเดือนขาด หรือไม่มา เหล่านี้อาจสงสัยได้ว่าจะป่วยเป็นเอสแอลอีข้อสังเกตอาการของโรคที่สัมพันธ์กับอวัยวะอาการทางผิวหนังผู้ป่วยมักมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า บริเวณสันจมูก และโหนกแก้ม 2 ข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ หรือมีผื่นแดงคันบริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด หรือมีผื่นขึ้นเป็นวง เป็นแผลเป็นตามใบหน้า หนังศีรษะ หรือบริเวณใบหู มีแผลในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีผมร่วงมากขึ้นอาการทางข้อและกล้ามเนื้อผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ มักเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วยอาการทางไตผู้ป่วยมักมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้าง ขา หน้า หนังตา เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ไต รายที่มีอาการรุนแรงจะมีความดันเลือดสูงขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไปจนถึงขั้นไตวายได้ในระยะเวลาอันสั้นอาการทางระบบเลือดผู้ป่วยอาจมีเลือดจาง มีเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีภาวะติดเชื้อง่าย หรือมีจุดเลือดออกตามตัวได้อาการทางระบบประสาทผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชัก หรือมีอาการพูดเพ้อเจ้อไม่รู้เรื่อง หรือคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้ เนื่องจากมีการอักเสบของสมอง หรือหลอดเลือดในสมองปกติแพทย์จะแบ่งความรุนแรงของโรคเอสแอลอี ออกเป็นระดับความรุนแรงน้อย ระดับปานกลาง และมาก ตามระบบของอวัยวะที่เกิดมีอาการ และตามชนิดของอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะนั้น ๆ เช่น อาการทางผิวหนังมีผื่น หรืออาการทางข้อ มีข้ออักเสบ จัดเป็นความรุนแรงน้อยถึงระดับปานกลาง ยกเว้นอาการบางชนิด เช่น เส้นเลือดอักเสบของผิวหนัง ส่วนอาการที่ระบบไต ระบบเลือดและสมอง จัดเป็นอาการขั้นรุนแรงอาการ ของโรคเหล่านี้ มักจะแสดงความรุนแรงมาก หรือน้อยภายในระยะเวลา 1-2 ปีแรกจากที่เริ่มมีอาการ หลังจากนั้นมักจะเบาลงเรื่อย ๆ แต่อาจมีอาการกำเริบรุนแรงได้เป็นครั้งคราววิธีการรักษาโรคผู้ป่วยโรคเอสแอลอีควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือแอสไพริน หรือยาลดการอักเสบก็ควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ (ยาเพร็ดนิโซโลน) หรือยากดภูมิคุ้มกันในขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ ยาเหล่านี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นมาใหม่แต่การใช้ยาเป็นเพียงการระงับอาการชั่วคราว ผู้ป่วยอาจต้องกินยาตลอดชีวิต ผมเคยเจอคนไข้รายหนึ่งก่อนที่จะมารักษากับผม เขากินยาเป็นเวลานานถึง 28 ปี ส่วนอีกรายกินยามา 22 ปีแล้ว แต่พอมารักษาด้วยสมุนไพรก็หายในระยะเวลา 6 เดือน แพทย์บางท่านอาจใช้ยาคีโมในการรักษาเอสแอลอี ซึ่งก็เป็นการรักษาแบบประคับประคอง แต่อาจไม่หายขาด คนไข้ส่วนใหญ่แทบทุกรายที่มาหาผม ล้วนผ่านการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมาก่อน และมีอาการที่เห็นเด่นชัด ตั้งแต่ผมร่วง ใบหน้ามีรอยช้ำ เป็นรอยเหมือนผีเสื้อ ประจำเดือนขาด มีรอยช้ำจ้ำ ๆ บริเวณแขนขา ซึ่งคนเป็นโรคเอสแอสอีจะเกิดรอยช้ำได้ง่ายที่สุดรักษาเอสแอลอีแบบแพทย์ทางเลือกผมอยากให้คนไข้หาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า แพทย์แผนอื่นรักษาโรคเอสแอลอีได้หรือไม่ สำหรับคนไข้ที่มาหาผม แทบจะไม่ต้องซักประวัติเพิ่มเติม บางคนขอรักษา 2 ทาง ผมก็จะแนะนำว่า ไปหาหมอแผนปัจจุบันได้ แต่ให้เก็บยาไว้ก่อน จากนั้น จึงกินยาสมุนไพรของผมซึ่งมีตัวหลักคือ เห็ดหลินจือ กับยาปรับธาตุที่ปรับสภาพฮอร์โมนผู้หญิงให้ปกติ หรือ ถ้าเป็นผู้ชาย ก็จะเป็นยาบำรุงร่างกาย3 ปัจจัยเสี่ยงพึงระวัง เพื่อเลี่ยงอาการกำเริบนอกจากนี้คนไข้ต้องระวังในการรับประทานอาหาร เช่น อาหารต้องห้ามประเภทข้าวเหนียว ที่มีกลูเตน (โปรตีนที่สกัดจากแป้งสาลี ใช้ทำหมี่กึง ขนมปัง หรือส่วนผสมในพิซซ่า) ซึ่งจะไปเร่งให้อาการกำเริบและอีกประการที่คนไข้ต้องระวัง คือ แสงแดด หรือ แม้จะเป็นแสงไฟก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแดง คัน ตามบริเวณมือ และหน้า ได้ จึงควรใส่เสื้อแขนยาวที่ปกปิดแขน ขา และลำตัวได้มิดชิด ใส่หมวกปีกกว้าง ทายาป้องกันแสงแดด และสวมเสื้อสีอ่อนที่ไม่ดูดซับความร้อนอีกประการที่อาจคิดไม่ถึง คือ ความร้อนจากการปรุงอาหารที่มีรังสีอินฟาเรดถูกปล่อยออกมา ถ้าได้รับความร้อนมาก ๆ ก็เป็นการกระตุ้นให้โรคเอสแอลอีกำเริบได้เช่นกันการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และต้องไม่ปฏิบัติตัวที่จะเป็นการกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาใหม่ เช่น การโดนแสงแดด ตรากตรำทำงานหนัก และอดนอน ถึงแม้ว่าโรคจะสงบลงแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็อาจยังมีโอกาสกำเริบใหม่อีกได้ ดัง นั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาสุขอนามัยให้ดี ทำจิตใจให้สดชื่น ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายสู่ตัวเรา#ขอบคุณทุกกำลังใจ#ขอบคุณที่อ่าน#ขอบคุณที่ติดตาม