ว่าด้วยกรรม 12 / หลวงปู่พุทธะอิสระ

บอร์ด ความรัก,ว่าด้วยกรรมหลวงปู่พุทธะอิสระ ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัสว่าด้วยกรรม 12 / หลวงปู่พุทธะอิสระ//////พึงเข้าใจเถิดว่า​ มนุษย์​และสัตว์​โลก​ล้วนเป็น​ไปตามกรรม​แต่จะเป็นไปตามกรรมแบบไหนเล่าที่พระพุทธ​เจ้าทรงสอนว่า​ "กัมมุนา​ วัตตติ​ โลโก​ ... สัตว์​โลก​เป็น​ไปตามกรรม".....เชื่อกรรมตามวิถีพุทธ​เป็นไปตาม​กรรม​อย่างไรจึงจะถือว่า​ เราเชื่อกรรมตามวิถีแห่งพุทธ​ไม่ใช่เชื่อกรรมตามลัทธิ​นอกพระพุทธ​ศาสนา​ ซึ่งเชื่อกรรมแบบชนิดปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม​คือ​ไม่ขวน​ขวาย​ เพราะไหนๆ​ กูมีกรรมแล้วนี่​ ชีวิตเราเป็นไปตามกรรม​ ก็ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม​ ไม่ต้องอะไรเยอะ​ ไม่ต้องไปขวนขวาย​ เดือดร้อน​ ทุรนทุราย​ เพราะยังไงๆ​ ก็หนีกรรมไม่พ้นถ้าเชื่อแบบนี้​ เขาเรียกว่า​ เชื่อตามลัทธิ​นอกศาสนา​ พระพุทธ​เจ้า​ไม่ทรงสรรเสริญแต่ถ้าเชื่อกรรมโดยการเรียน​รู้​ ศึกษา​ และทำความเข้าใจ​ว่า​ ... สัตว์​โลก​เป็นไปตามกรรม และกรรมจำแนกสัตว์​ให้ดีชั่วเลวหยาบ​ถ้าเชื่อกรรมแบบนี้แล้วจะทำให้ชีวิต​ของ​มนุษย์​ผู้ที่เชื่อในกฎของกรรมดีขึ้นได้อย่างไรกรรม​ คือ​ อะไร? กรรม​คือการกระทําแล้วใครเป็นผู้กระทำ? คือ ตัวเราซึ่งก็สอดคล้อง​กับคำสอน​ "อัตตาหิ​ อัตโนนาโถ​ ตนเป็นที่พึ่ง​ของ​ตน​"แล้วเชื่อสิ่งที่ตนกระทำทำอย่างไร​ต้องรับผลอย่างนั้นทำดีรับผลดี​ ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วเท่ากับว่า​ พระพุทธเจ้า​ทรงสอนให้เชื่อตัวเองอย่างชาญฉลาด​ มีสติปัญญา​ นั่นเอง.....บทสรุปของการเชื่อกรรม​ และอัตตาหิ​ อัตโนนาโถเมื่อเอา​ 2 อย่างมาผนวกกัน​ จะทำให้​เห็น​ว่า​ พระพุทธเจ้า​ไม่ได้ทรงสอนเลอะเทอะ​ เปรอะเปื้อน​ แต่ทรงสอนให้เชื่อตัวเองที่เต็ม​พร้อม​ เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพของความมีสติปัญญา.....วิถีแห่งพละ 4ถ้าเชื่อในมนุษย์​ว่าสามารถดำรงชีวิต​อยู่​อย่างมีศักยภาพ​ มีความรู้​ความสามารถ​ มีความเจริญ​รุ่งเรือง​ มั่งคั่ง​ มั่นคง​ได้ ก็จงเชื่อตน​เองในวิถีแห่งพละ​ ๔​ที่มี​ปัญ​ญา​ วิริยะ​ ซื่อตรง​ มีจาคะ​อยู่ร่วมกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย​แบ่งปัน​ เกื้อกูล​กัน​ มีน้ำใจ​ ให้อภัย​ ไม่เห็นแก่ตัว​​ และมีปฏิสัมพันธ์​อัน​ดี​กับ​คนรอบข้าง​แล้วชีวิต​จะเป็นสุข ปลอดภัย ผ่อนคลายโปร่ง​ เบา​ สบาย​ และเจริญ​ได้​เราจะมีชีวิตอยู่​ในโลกใบนี้อย่างไม่ทุกข์​มากไป​ ไม่ทรมาน​เยอะไป​ และมีพัฒนา​การ​อันดีงาม​ คือ​ มีปัญญาเป็นตัวหลัก......พละ 5ถ้าเชื่อในพละ​ 5 คือ​ เชื่อว่า​มนุษย์​ผู้นั้นจะสามารถ​หลุดพ้นจากการครอบงำของ​ รูป​ รส​ กลิ่น​ เสียง​ สัมผัส​ และรัก​ โลภ​ โกรธ​ หลง​ได้​นั่นคือ​มี​ศรัทธา​ วิริยะ​ สติ​ สมาธิ​ ปัญญา​ คือ​ เชื่อในวิถีแห่งการพัฒ​นาตนเองให้หลุดพ้นจากอัตภาพ​แห่งความเป็นมนุษย์​และโลกนี้ไปได้นี่คือ​ การเชื่อกรรมแบบมีที่มาที่ไป​ มีเหตุมีผล​เชื่อแบบนี้แหละ​ พระ​พุทธ​เจ้าทรงเรียกว่า​กัมมุนา​ วัตตติโลโก​ สัตว์​โลกเป็นไปตามกรรม​ เชื่ออย่างมีหลักการ​ มีเหตุมีผล.....กรรมที่พระพุทธศาสนาสอนนั้นไม่ใช่สอนให้คนเชื่อ แล้วปล่อยชีวิตเป็นไปตามกรรม โดยไม่ขวนขวาย ไม่มุ่งมั่นพัฒนา เฉกเช่น ผู้ที่ยอมรับชะตากรรม โดยไม่คิดจะทำอะไรในพระพุทธศาสนาสอนให้ศึกษากรรมโดยแบ่งกรรมและการให้ผลของกรรมไว้ 12 ลักษณะ คือ(1) ชนกกรรมกรรมที่นำมาให้เกิดหรือกรรมที่ตกแต่งให้เกิด หาได้เกิดในชาติภพอย่างเดียวไม่ แม้ก่อกำเนิดให้เกิดกรรมทางกาย วาจา และใจ ทั้งในทางดีและชั่วได้ด้วยกระบวนการ​ทำงานแห่งกรรมจึงไม่ได้มีเฉพาะแค่ภพใดภพหนึ่ง​ ชาติใดชาติ​หนึ่ง​ แต่มีแม้กระทั่งที่มีอยู่ในขณะหนึ่งๆ​ เช่น​ วันนี้เราต้องการจะปฏิบัติธรรม เรามีจิตศรัทธา​ประกอบด้วยความเพียร​ สติ​ สมาธิ ปัญญา คือ​ ทุกอย่างมาจากเหตุปัจจัยพระพุทธ​เจ้า​ทรงสอน​ว่า"เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา คือ​ ธรรมทั้งหลาย​เกิดแต่เหตุ​"ไม่ใช่อยู่ดีๆ​จะมาปฏิบัติธรรม โดยไม่คิด​ ไม่วิเคราะห์​ ไม่คำนวณ​ ไม่วางแผน​ ไม่มีอารมณ์​ศรัทธา​อยู่ก่อน ... มันเป็นไปไม่ได้ชนกกรรม​ จึงหมายถึง​ กระบวนการ​ที่ทำให้เราได้ทำกระบวนการ​นั้นๆ​สำเร็จ​ประโยชน์ต้องมีศรัทธา​ มีความเพียร​ มีขันติ​ มีความอดทน​ มีปัญญา​ มีสติ​ จึงจะถึงคำว่า​ มีการบำเพ็ญ​ปฏิบัติธรรมได้จึงสรุปได้ว่า​ การทำงานของชนกกรรมนั้นให้ผลแม้ขณะหนึ่งๆ​ ขณะจิตหนึ่งๆ ขณะอารมณ์​หนึ่ง​ๆ ... นี่ก็เป็นกระบวนการ​แห่งชนกกรรม​(2) อุปัตถัมภกกรรมกรรมที่คอยสนับสนุน เลี้ยงดู รวมทั้งให้การอุปถัมภ์ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ให้ส่งผลอย่างสม่ำเสมออุปัตถัมภกกรรม​ เหมือนกับพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูก​ เราจะปฏิบัติธรรมโดยมีศรัทธา​อย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีกระบวนการ​มาอุปถัมภ์ด้วยคือต้องมี 'ความเพียร​' เอาความเพียร​เข้ามาอุปถัมภ์​ความศรัทธา​ที่ตั้งมั่น​/ตั้งใจไว้ให้มันสำเร็จ​ประโยชน์ต้องมีขันติ​ในการปฏิบัติธรรม มีความอดทนกระบวนการ​เหล่านั้น​เรียก​ว่า อุปัตถัมภก​กรรม​ ทำให้กิจกรรม​ที่เราตั้งความหวังว่าจะทำสำเร็จ​ประโยชน์ชนกกรรมก็ดี​ อุปัตถัมภกกรรมก็ดี​ มีแต่ฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล​คนคิดจะไปปล้นเขา​ อยู่ดีๆ​ จะหยิบมีด​ หยิบปืนไปมั้ย? ต้องโลภก่อน​ ต้องโง่ก่อนด้วยนะ​เพราะ​ "โง่" เป็นปัจจัย​หลักของคนทำกรรมชั่ว​ ส่วนปัจจัย​หลักของคนทำความดี​ คือปัญญา หรือความฉลาดคนทำความดีต้องมีปัญญา​ นั่นคือ​ ปัจจัย​หลักในการทำความดี​ เพราะเห็นคุณ​ เห็นประโยชน์​ในการกระทำความดี​ว่า​ ทำแล้วไม่มีโทษ​ ไม่มีผลส่งให้เกิดความทุกข์​ทรมานเหล่านี้แหละ​ เรียกว่า​ อุปัตถัมภกกรรมฉะนั้น​ อุปัตถัมภกกรรมของกุศลกรรม​ คือ​ ​ความฉลาด​ ความเพียร​ มีศรัทธา​ ความเชื่อในสิ่งที่​ทำ​ เหล่านี้คือ​ องค์ประกอบถ้าเข้าใจพุทธธรรม​ก็จะเข้าใจว่า​ เอา​ "เหตุ" เป็นตัวตั้ง​ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ​ ทุกอย่าง​เป็นกระบวนการ​ของเหตุทั้ง​หมด​ แล้วค่อยมาสรุปผลตรงที่​ "ผล" ออกมาอย่างไรดังนั้น​ อุปัตถัมภกกรรม​ ไม่ใช่อุปถัมภ์​กรรมดีอย่างเดียว​ แม้แต่กรรมที่ตกแต่งให้เกิดแล้วทำชั่ว​ เรียก​ว่า​ อกุศล​ ก็จัดว่า​ เป็นอุปัตถัมภก​กรรมเหมือนกัน​ และ​การอุปถัมภ์​ให้กรรมนั้นสำเร็จ​ประโยชน์​ จึงจัดว่า​เป็นอุปัตถัมภกกรรมทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว(3) อุปปีฬกกรรมกรรมที่บีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ทำหน้าที่บีบคั้นจากชั่วให้เป็นดี และบีบคั้นจากดีกลายเป็นชั่ว รวมทั้งบีบคั้นให้ไม่ได้ ไม่ชั่ว เป็นกลางๆ ได้ด้วยอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอุปสรรค​ขวางหนาม​ หรือที่ทำให้เราไม่ได้ดั่งหวัง​ เขาก็เรียกว่า​ อุปปี​ฬกกรรม​ ... กรรมที่บีบคั้นให้เปลี่ยนแปลง​ผลที่จะเกิดจากจุดมุ่งหมาย​ที่กระทำจะเป็นอุปปีฬกกรรม​ได้ ต้องเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ​ จากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง จึงจะเรียกว่า​ อุปปีฬกกรรม(4) อุปฆาตกกรรมกรรมที่ทำหน้าที่กัดกร่อน ตัดรอนในทุกกรรม ไม่ว่าจะดีหรือเลว โดยไม่มีกาลเวลา แม้ที่สุดกำลังจะดี ก็ทำให้ตายได้ด้วยส่วนใหญ่​ อุปฆาตกรรม​ เป็นกรรมหนัก​ มาเร็ว​ และแรง​ ทำให้ขาดสูญ​ หวังผลไม่ได้อีกต่อไป​ เขาจะใช้คำว่า​ อุปฆาตกรรม.. ทำให้เสื่อม​และหลุดพ้น​ เช่น​ อยู่ดีๆ​ หลุดพ้นจากอำนาจที่เราดำรงอยู่​ อย่างนี้มีอุปฆาตกรรม.. เป็นรัฐมนตรี​อยู่ดีๆ​ แว็บเดียวไปติดคุกแล้ว.. เป็นพระอยู่ดีๆ​ แว็บเดียวไปติดคุกแล้ว​ อย่างนี้เรียกว่า​ อุปฆาตกรรม​ คือเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปทันที.. จากมีชีวิต​ที่สดสวย​ เหมือนบ้านเพิ่งปลูกใหม่​ อยู่ดีๆ​ ไฟไหม้​อุปปีฬกกรรม​ เหมือน​กับไฟช็อต​ในบ้านหลังใหม่​ มองเห็นควันไฟ​ เราไปดับได้ทัน​ นี่เรียก​ อุปปีฬกกรรม​ ทำให้เสื่อม​ ตัด​รอน​ ไม่ให้เจริญแต่อุปฆาตกรรม​ ทำให้ฉิบหาย​วายป่วง​ ทำให้บรรลัย​ หาย​ ขาดสูญไปเลย​ตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ไม่มีใครจะดลบันดาลให้เกิดจำไว้​นะในกรรม​ 4 หมวดนี้​ ไม่มีใครเป็นผู้ดลบันดาล​ให้เกิด นอกจากตัวเราเองฉะนั้น​ เมื่อตัวเราเองเป็นผู้ทำให้เกิดกรรมทั้ง​ 4 แล้ว ใครเป็นผู้รับกรรม?ตัวเราเป็นผู้รับกรรม​ แล้วกรรมทั้ง​ 4 มีหน้าที่​ที่จะส่งผลให้ผู้กระทำกรรมทั้ง​ 4 นั้น​ ไม่ใช่คนอื่นดลบันดาล​ให้ส่งผลกรรมทั้ง​ 4 จึงจัดเป็น​กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่​ ไม่มีใครมาดลบันดาล​ บังคับ​ ขู่เข็ญ​ ขอร้อง​ อ้อน​วอน​ หรือทำให้ส่งผลตัวเราเองนั่นแหละ ถ้าทำมาก​ ทำเร็ว​ ทำบ่อย​ ทำถี่​ ก็จะส่งผลเร็ว​ ส่งผลมาก ส่งผลถี่​ถ้าทำช้า​ ทำไม่บ่อย​ นานๆทำที แม้กรรมทั้ง​ 4 มีหน้าที่​ต้องให้ผลก็ให้ผลตามกระบวนการ​กระทำ​ คือ ให้ผลช้า​ นานๆ​ ให้ที​ ไม่ได้ให้ผลถี่ในกรรมทั้ง​ 4 ถ้าเราเลือก​ที่จะทำเฉพาะกรรมฝ่ายกุศล​ เรียกว่า​ ฉลาด​แล้วทำกรรม​ แล้วทำบ่อยๆ​ ทำเรื่อยๆ​ ทำถี่ๆ​ ไม่ใช่นานๆ​ ทำที​ มันก็ให้ผลตามหน้าที่​ของมัน​คือ​ จะให้ผลดี​ ให้คุณประโยชน์​ ให้​ผล​เป็นสุข​ เป็นความสำเร็จ​ รุ่งเรือง​ เจริญ​ บ่อยๆ​ ถี่ๆเพราะ​ฉะนั้น​ กรรมทั้ง​ 4 จึงจัดว่าเป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่​ถ้าอยากจะได้​ "ผล" แห่งกรรม​ดีอันเป็นกุศลบ่อยๆ​ ส่งผลให้เกิดความรุ่งเรือง​ เจริญ​ มั่งคั่ง​ มั่นคง​ สุขภาพ​แข็งแรง​ อายุ​ยืน​ยาว​ วาสนาดี บารมี​มาก​มาย​ก็ต้องทำกรรมทั้ง​ 4 ถี่ๆ​ บ่อยๆ​ เร็วๆ​ ไม่ใช่นานๆ​ ทำที​ และต้องเป็นกรรมทั้ง​ 4 ที่อยู่ในกุศลกรรมเท่านั้น......หลักของกุศลกรรมต้นเหตุแห่งการทำ​กุศล​กรรม​ คืออะไร? รากฐานเลย​ คือความฉลาดคนฉลาด​ ทำกุศลคนโง่​ ทำอกุศลกรรม​ 12 จึงต้องเรียนรู้​ ศึกษาให้แจ่มชัด​ ไม่​ใช่เชื่อกรรมแบบไม่มีคำอธิบาย​ แล้วปล่อย​ชีวิต​ให้เป็น​ไป​ตามยถากรรม​ อันนั้น​เรียกว่า​ เชื่อตามลัทธิ​นอกศาสนา