"มองศักดิ์ศรีชาวนาญี่ปุ่น แล้วย้อนมองดูชาวนาไทย"

บอร์ด ความรัก,มองศักดิ์ศรีชาวนาญี่ปุ่นแล้วย้อนมองดูชาวนาไทย ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย warrior B  บทความโดย ณัฐวีย์ วงศ์ศิริขันธ์ ผมขอนำบทความนี้มาเผยแพร่ต่อเพื่อเป็นความรู้นะครับ คุณณัฐวีย์ วงศ์ศิริขันธ์  เขียนบทความนี้ได้น่าสนใจมากๆ "มองศักดิ์ศรีชาวนาญี่ปุ่น แล้วย้อนมองดูชาวนาไทย" อยากให้ลองอ่านดูนะครับ ยาวหน่อยแต่อร่อยแน่นอนครับ!ชาวนาญี่ปุ่นสมัยก่อน กับชาวนาญี่ปุ่นในวันนี้  รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีนโยบายให้ความช่วยเหลือชาวนาของเขาเป็นอย่างดี เพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่มาจากภายในประเทศมีแต่ชาวนาสูงวัย และคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยสนใจจะทำการเกษตรกันแล้ว รัฐเลยสนับสนุนให้รวมกลุ่มกันทำนาแปลงใหญ่ จึงมีปัญหาหนึ่งที่ตามมาซึ่งไม่ต่างจากบ้านเรานักนั่นคือ “ผลผลิตล้นตลาด”นั่นเองครับดังนั้นรัฐบาลจึงต้องใช้วิธีจูงใจให้ชาวนาบางส่วนเปลี่ยนรูปแบบจากผลิตข้าวเพื่อการบริโภค มาเป็นให้นำข้าวมาเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ เพื่อทดแทนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรัฐจะสนับสนุนเงินให้ชาวนาไร่ละ 76,000 เยน หรือประมาณ 26,200 บาท และเมื่อหมดฤดูทำนา เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นจัดไม่สามารถปลูกพืชหลังทำนาได้ รัฐยังจะให้การสนับสนุนค่าสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกผักหรือไม้ดอกในระบบปิดอีกด้วย แต่พิจารณาตามความเหมาะสมเฉพาะรายไปเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในบริเวณนั้นหากชาวนามีความสนใจที่จะเปลี่ยนชีวิตไปเป็นชาวสวน ปลูกผัก ผลไม้แทนข้าว รัฐจะสนับสนุนด้านการเงินจำนวนไร่ละ 32,500 - 41,800 เยน หรือประมาณ 11,200-14,400 บาทไทยครับโดยปกติแล้ว ชาวนาญี่ปุ่นจะรวมกลุ่มกันทำเกษตรแปลงใหญ่แบบครบวงจร คือ ทำตั้งแต่การปลูก แปรรูป และขายเอง จนพัฒนาถึงขั้นสามารถรวมตัวตั้งเป็นสหกรณ์และบริษัท ผลที่ตามมาก็คือ พื้นที่ทำการเกษตรเดิมที่ชาวญี่ปุ่นมีเฉลี่ยเพียงคนละ 12 ไร่ แต่พอรวมกันเป็นแปลงใหญ่แล้ว จะมีพื้นที่เฉลี่ยประมาณกลุ่มละ 193 ไร่ หมู่บ้านชาวนาญี่ปุ่นในชนบทการทำนาแบบต่างคนต่างทำนั้น มีรายได้เฉลี่ยตกปีละ 100,000 บาทต่อไร่ แต่ถ้ารวมแปลงแล้ว จะมีรายได้เฉลี่ยตก 4.1 แสนบาทต่อไร่ (เฉพาะปลูกข้าว) เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนที่ต่ำลงท้ายที่สุด เมื่อการรวมกลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้น สามารถแปรรูปเป็น มีช่องทางจำหน่าย จนกลายเป็นบริษัทที่สามารถทำธุรกิจได้เอง จนกระทั่งมีความน่าเชื่อถือเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ บรรดาซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรต่างๆจะวิ่งเข้าหา ไม่เพียงต้องการสินค้าไปขายในห้างของตัวเองเท่านั้น ยังควักเงินขอร่วมลงทุนผลิตสินค้าเกษตรอีกด้วย เรียกว่า เป็นเพื่อนพันธมิตรร่วมธุรกิจเดียวกัน ดังนั้นศักดิ์ศรีของชาวนาญี่ปุ่น พ่อค้า และนายทุน นั้นเท่าเทียมกันครับ ภริยาของท่านผู้นำญี่ปุ่นอยากเป็นชาวนา ปลูกข้าว มีความสุขใจกว่าเป็นเมียนายกฯมากมายครับลองหันกลับมาดูชาวนาไทยกันบ้าง ปัญหาแนวโน้มของเกษตรกรไทยละทิ้งไร่นา เพื่อเข้าไปหางานทำในเมืองนั้น แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงในชาติเกษตรกรรมอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมแต่สำหรับประเทศไทยแล้ว แนวโน้มดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากการทำนาปลูกข้าว ได้รับการยกย่องให้เป็นอัตลักษณ์ของชาติ ถึงขนาดที่มีการขนานนามให้กับชาวนาไทยว่า ”เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ” กันเลยทีเดียวครับแฟชั่นหุ่นไล่กาญี่ปุ่นนอกจากนี้ ประเทศไทยยังถูกจัดให้เป็นชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ.2554 ไทยส่งออกข้าวมีมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 188,000 ล้านบาท โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นข้าวชั้นดีที่มีราคาสูงที่สุดชนิดหนึ่งของโลกส่วนยอดการส่งออกข้าวไทยในปี 2559 มีปริมาณ 9.88 ล้านตัน ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ส่งออกเบอร์ 2 ของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รองจากอินเดียซึ่งส่งออกได้ 10.5 ล้านตัน ส่วนเวียดนามเป็นเบอร์ 3 ส่งออกได้ 4.89 ล้านตัน ส่วนในปี 2560 ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ว่าจะมีปริมาณ 9.0-9.5 ล้านตัน ครับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานโดยอ้างสถิติจากข้อมูลของรัฐบาลไทย พบว่า อายุเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นของชาวนาไทยในปัจจุบัน ถือเป็นประเด็นที่น่าวิตกเป็นอย่างมาก โดยล่าสุด มีชาวนาไทยอายุไม่เกิน 25 ปี เหลืออยู่เพียงร้อยละ 12 ลดลงถึงร้อยละ 35 จากการสำรวจเมื่อปี 2528 ส่วนอายุเฉลี่ยของชาวนาไทยทั้งประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2553 อยู่ที่ 42 ปี เพิ่มขึ้นจากอายุเฉลี่ย 31 ปี ที่มีการสำรวจเมื่อราว 25 ปีที่ผ่านมาสำหรับสาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสนใจกับอาชีพทำไร่ทำนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า ชีวิตในเมืองมีความสะดวกสบายมากกว่าในชนบท ส่งผลให้การทำนา ที่ต้องตากแดดตากลม และใช้แรงงานที่เหนื่อยยาก ไม่ได้รับการสืบทอดจากลูกหลานของบรรดาเกษตรกรในปัจจุบันมากนักขณะเดียวกัน นิวยอร์กไทมส์ ยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นปัญหาเฉพาะของประเทศไทย คือ การดูหมิ่นเหยียดหยามอาชีพชาวนาว่า เป็นงานของคนจน ที่ไม่มีการศึกษา และไร้สุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของชาวนาไทยที่เผยแพร่ผ่านรายการโทรทัศน์ต่างๆ ที่มักนำเสนอภาพชาวนาผิวคล้ำกรำแดด ท่าทางงกๆเงิ่นๆ ออกไปทางเซ่อซ่า ซุ่มซ่าม ซึ่งกลายเป็นตัวแทนของชนชั้นต่ำสุดของสังคมไทย ที่ดูต่างไปจากคนเมืองที่มีผิวขาวสดใส และเป็นค่านิยมใหม่ของสังคมไทยไปแล้วชาวนาญี่ปุ่น แปลงโฉมที่นาของตนเอง ให้กลายเป็นงานศิลปะสุดเท่หด้วยเหตุนี้ ลูกหลานของชาวนารุ่นใหม่จึงพยายามหลีกเลี่ยงการสืบทอดอาชีพทำนาของครอบครัว และหันไปทำงานรับจ้างในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆแทน หรือไม่ก็พยายามตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้นกว่าบรรพบุรุษ เพื่อจะได้ไม่ต้องหวนกลับมาช่วยเหลือครอบครัวทำไร่ทำนาในชนบทอีกต่อไปนอกจากนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อาชีพชาวนาไม่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะปัญหาปุ๋ยที่มีราคาแพงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติ ทำให้ชาวนามีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมานั้น ชาวนาไทยทั่วประเทศมีหนี้สินเฉลี่ยตกคนละ 104,000 บาท หรือเท่ากับรายได้เฉลี่ยของพวกเขารวมกันเกือบ 5 ปีเลยทีเดียวผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ เผยว่า จำนวนหนี้สินที่ว่านี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในอนาคต ทำให้ชาวนาไทยในปัจจุบัน ต้องทำอาชีพเสริมอื่นๆ อาทิ การเปิดร้านขายของชำ และร้านเสริมสวยควบคู่กันไปด้วยอย่างไรก็ตาม แนวโน้มชาวนารุ่นใหม่ที่ลดลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศเวียดนาม ชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดอีกประเทศหนึ่งของโลก ก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน โดยคนเวียดนามให้เหตุผลว่า การทำนาเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก แต่ได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับแรงที่เสียไปด้านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติในฟิลิปปินส์ มองว่า ปัญหาจำนวนชาวนาลดลง น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงเพียงระยะเวลาสั้นๆ และนั่นอาจทำให้การใช้เครื่องจักรในการเกษตร เพื่อทดแทนแรงงานที่หายไป มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ชาวนาไทยที่มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศนั้น กำลังจะเป็นอาชีพที่ล้มละลาย และไม่มีศักดิ์ศรีหลงเหลืออยู่อีกต่อไปครับสำหรับในรัฐอาร์คันซอร์และรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ที่มีการปลูกข้าวเจ้าเป็นจำนวนมากและส่งออกมาตีตลาดโลกนั้น รัฐบาลของรัฐและรัฐบาลกลาง ก็มีนโยบายให้ความช่วยเหลือชาวนาด้วยมาตรการต่างๆเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆด้วยเช่นกันดังนั้น นโยบายในการช่วยเหลือชาวนาจึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วทั้งโลก และรัฐบาลที่ช่วยเหลือชาวนาก็ขาดทุนทุกรัฐบาลทั่วทั้งโลกด้วยเช่นกัน และยังไม่มีนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีคนไหนต้องติดคุกติดตะราง เพราะการขาดทุนจากการให้ความช่วยเหลือชาวนาเลยแม้แต่รายเดียว เว้นแต่ ณ.ที่แห่งนั้นมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นแล้วครับ ญี่ปุ่นมีนโยบายข้าวอย่างไร ทำไมอาชีพชาวนามั่นคงญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถไฟ รวมทั้งนวัตกรรมใหม่อื่นๆอีกมากมาย แต่ก่อนที่คนญี่ปุ่นจะผลิตนวัตกรรมใหม่ๆจากเหล็กเหล่านั้นได้ คนญี่ปุ่นต้องกินอาหารครับดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายหลักของชาติเอาไว้ว่า ผู้ที่ผลิตอาหารเลี้ยงดูคนญี่ปุ่นต้องยืนอยู่ได้เป็นคนแรก รวมทั้งจะต้องยืนหยัดอยู่ได้เป็นคนสุดท้ายอีกด้วย ดังนั้น ชาวนาญี่ปุ่นผู้ผลิตข้าวเลี้ยงคนญี่ปุ่น จึงได้รับความช่วยเหลือและปกป้องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัยครับ ข้าวเป็นอาหารจากหลักประจำชาติของชาวญี่ปุ่น ข้าวชนิดที่ปลูกและบริโภคกันภายในประเทศเป็นข้าวเมล็ดสั้นพันธุ์ Japonica ซึ่งต่างจากข้าวพันธุ์ Indica ที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกแต่ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากก็รู้จักข้าวของไทย อันเนื่องมาจากความพยายามของหน่วยงานราชการไทยที่ส่งเสริม และแนะนำข้าวหอมมะลิ ควบคู่กับการส่งเสริมการบริโภคอาหารไทย ทำให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น รู้จักข้าวหอมมะลิว่าเป็นข้าวชนิดพิเศษ แตกต่างจากข้าวญี่ปุ่น และเหมาะสำหรับการบริโภคกับอาหารไทย เช่น บริโภคกับแกงชนิดต่างๆ และเหมาะสำหรับปรุงเป็นข้าวผัดการบริโภคข้าวไทยจึงกระจายจากการใช้สำหรับภัตตาคาร และการบริโภคของชาวต่างชาติในญี่ปุ่น ไปสู่ครัวเรือนญี่ปุ่นมากขึ้นชาวนาไทยวันนี้อนาคตยังมืดมนครับ ชาวนาไทยนอกจากจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แสนลำบากยากเข็ญ เพราะถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคมแล้ว ยังถูกมองว่าเป็นพลเมืองที่อยู่ในชั้นล่างสุดของสังคมไทยอีกด้วย หนำซ้ำยังถูกลากเข้าไปสู่เกมการเมืองที่สกปรกอีกต่างหากครับ    พัฒนาเครื่องจักร รองรับแรงงานภาคเกษตรที่หายไป ซึ่งปัจจุบันเหลือประมาณ ร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมดข้าวเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว และส่งผลทางการเมืองต่อรัฐบาลญี่ปุ่นสูง ในอดีต ตลาดข้าวของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลภายใต้ Food Stuff Law มาเป็นเวลานานเพื่อคุ้มครองเกษตรการซึ่งเป็นฐานเสียงใหญ่ โดยจะให้นำเข้าได้เฉพาะภายใต้โควตาพิเศษ เพื่อใช้ในการแปรรูปของอุตสาหกรรมอาหาร เท่านั้นญี่ปุ่นไม่จัดอยู่ในประเทศผู้ส่งออกข้าว และไม่มีนโยบายส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ก็มีการส่งออกไปไต้หวัน และจีน หลังจากไต้หวันเปิดตลาดนำเข้าข้าวภายใต้ WTO และจีนยินยอมให้นำเข้าข้าวจากญี่ปุ่นได้ ในลักษณะข้าวคุณภาพดีราคาสูงแฟชั่นหุ่นไล่กาของชาวนาญี่ปุ่นข้าวที่ญี่ปุ่นส่งออกส่วนมากเป็นการบริจาคให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ Food Aid Program โดยญี่ปุ่นกำหนดปริมาณข้าวสำหรับโครงการนี้ปีละประมาณ 200,000 ตันชาวนาไทย อาชีพที่รอวันล้มละลายนับตั้งแต่ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวตามข้อผูกพันต่อ WTO ในปี 2538 ไทยสามารถส่งออกข้าวไปยังญี่ปุ่นปีละ ประมาณ 135,000 ตันข้าวที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นส่วนมากเป็นข้าวสารขาว 100% รองลงมาได้แก่ ปลายข้าว และข้าวเหนียวจากสถิติ World Trade Atlas ในปี 2551 ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจำนวน 589,622 ตัน มูลค่า 408.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 80 เป็นข้าวชนิดที่สีแล้ว ร้อยละ 16.8 เป็นข้าวกล้อง และร้อยละ 3.2 เป็นปลายข้าว โดยนำเข้าจากไทยจำนวน 220,470 ตัน มูลค่า 117.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกหนึ่งคำถามที่คาใจของเกษตรกรไทยคือ "ทำไมข้าวสารแพง แต่ข้าวเปลือกราคาถูก" ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาของรัฐบาลครับ นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร อย่างโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ผลลัพธ์ที่สามารถคาดการณ์ได้เลย คือ ปริมาณผลผลิตข้าวในรอบปีนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ แบบว่าไม่สามารถควบคุมทั้งปริมาณและคุณภาพได้ อย่างที่ทราบ ปัญหาข้าว รวมถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ มักจะอยู่ที่ 2 เรื่องหลัก นั่นคือ คุณภาพและราคา โดยต้นเหตุของปัญหาล้วนมาจากตัวผู้ประกอบการเป็นหลักการส่งเสริมนาแปลงใหญ่ ซึ่งเชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง ได้เริ่มโครงการนำร่องในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมพื้นที่กว่า 1.8 หมื่นไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 473 ราย โดยผลผลิตข้าวที่ได้จะทำเป็นข้าวถุงในชื่อแบรนด์ของตัวเอง (ข้าวรวมพลัง) จำหน่ายในช่องทางทั่วๆ ไป ร้านค้าสหกรณ์ รวมถึงขายตรงให้กับสมาชิก ลองคิดดูหากแนวทางแบบนี้มีการขยายออกไปตามพื้นที่นาในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ผลผลิตรวมทั้งตลาดข้าวของไทยน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนด้วยวิสัยทัศน์แบบนี้ผมมองว่า น่าจะเป็นความหวังให้มวลสมาชิกชาวนาไทยได้โอกาสก้าวพ้นกับดักความยากจนซ้ำซากลงได้บ้างไม่มากก็น้อยจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,133 วันที่ 21 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559   ชาวนาญี่ปุ่นอาจนับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากกว่าหากจะเทียบกับในสหรัฐ ที่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดพื้นที่ประเทศและสภาพภูมิอากาศ ชาวนาญี่ปุ่นเคยเป็นชนชั้นที่ต่ำต้อยและยากจนภายใต้ระบบขุนนางผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ทว่าการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเข้ามาปกครองญี่ปุ่นในระยะหนึ่งของสหรัฐ ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการ “ปฏิรูปที่ดิน” ในปี 1946 โดยการบังคับให้เจ้าของเดิมขายที่ดินให้ ก่อนจะนำมาแบ่งขายในราคาถูกให้ชาวนาได้มีที่ดินทำกินของตัวเองเป็นครั้งแรก ขณะที่รัฐบาลยังได้กำหนดราคากลางสินค้าเกษตร เพื่อไม่ให้ชาวนาได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดและสภาพดินฟ้าอากาศมากเกินไป จนถือได้ว่าเป็นช่วงการวางรากฐานเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมาก